วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558






                            การเลี้ยงไก่พื้นบ้าน


ปัจจุบันไก่พื้นบ้านได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นมาก เป็นเพราะไก่พื้นบ้านมี เนื้อ รสชาติอร่อยและเนื้อแน่น เป็นที่ถูกปากของผู้บริโภคทั่วไป จนมีแนวโน้มว่า จะสามารถส่งเนื้อไก่พื้นiบ้านออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ แต่ปัญหาคืะอปริมาณไก่ บ้านยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะเกษตรกริ.1่วนมากประมาณร้อยละ 70 80 เปอร์เซ็นต์ จะเลี้ยงไก่พื้นบ้านแบบหลังบ้านประมาณ 10 20 ตัวต่อครัว เรือน ซึ่งการเลี้ยงก็เป็นการเลี้ยงแบบปล่อยตามยถากรรม จึงเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสย พอสมควร แต่ถ้าเกษตรกรสามารถปรับใช้เทคนิคการเลี้ยงแบบเรือนโรงมาผสม ผสานกับการเลี้ยงแบบพื้นบ้านและมีการปรับปรุงพันธุ์ลูกผสมระหว่างไก่บ้านกับไก่ พันธุ์แท้แล้วย่อมส่งผลทำให้จำนวนไก่บ้านที่จะออกสู่ตลาดมีปริมาณที่สูงขึ้นอย่าง แน่นอน

 
 
 

1. ข้อดีของไก่พื้นบ้าน




1.1 หาอาหารเก่ง สามารถเลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติได้ ทำให้ประหยัด ค่าอาหารได้มาก
1.2 ทนต่อสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศได้เป็นอย่างดี
1.3 ทนต่อโรคพยาธิได้ดีกว่าไก่พันธุ์อื่น ๆ
1.4 มีความสามารถในการเลี้ยงลูกได้เก่ง
1.5 เนื้อของไก่พื้นบ้านมีรสชาติถูกปากคนไทยมากกว่าเนื้อของไก่ที่ผลิต เป็นอาหารโดยเฉพาะ2. ข้อเสียของไก่พื้นบ้าน
2.1 โตช้า ใช้เวลาเลี้ยงนานกว่าไก่ทางการค้ามาก
2.2 ให้ไข่น้อยปีหนึ่ง ๆ ให้ไข่เฉลี่ยประมาณ 40-50 ฟองต่อปี โดยจะให้ ไข่เป็น ชุด ๆ ละ 7 - 15 ฟอง
2 3 เมื่อไข่ครบชุดแล้วไก่พื้นบ้านมีนิสัยชอบฟักไข่ โดยจะฟักไข่ประมาณ 21 วัน ไข่จะออกเป็นลูกเจี๊ยบ และจะเลี้ยงลูกเจี๊ยบต่อไปอีกประมาณ 2 เดือน จึงจะเริ่มกลับมาให้ไข่ใหม่อีก
.ไก่พื้นบ้านที่เลี้ยงกันอยู์ในปัจจุบัน มีความแตกต่างกันออกไปในเรื่องของพันธุ์ และสายพันธุ์ตามสภาพท้องที่ต่าง า แต่อย่างไรก็ดีมักจะมีวัตถุประสงค์การเลี้ยงที่ เหมือน ๆ กันคือ เลี้ยงเพื่อเอาไข่และเนื้อ โดยปล่อยให้ไก่เหล่านั้นหาอาหารกินเอง ตามธรรมชาติ มีการเสริมอาหารให้บ้างเล็กน้อยไก่พื้นบ้านเหล่านี้มีสีต่างๆ กัน แต่ที่นิยมเลี้ยงกันมากและตลาดต้องการคือ ไก่ที่มีผิวหนังสีเหลืองและสีขนดำ
จากสภาพการเลี้ยงที่ปล่อยตามธรรมชาติ และขาดการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด ทำให้การที่จะนำไก่พันธุ์ดีเข้าไปเผยแพร่ เพี่อขจัดข้อเสียของไก่พื้นบ้านดังที่กล่าวมา แล้วเป็นไปได้ยาก เนื่องจากไก่พันธุ์ดีนั้น ๆ ต้องการการดูแลเอาใจใส่อย่างสม่ำ เสมอ ถ้าเอามาเลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติจะไม่ ได้ผลเท่าที่ควร ฉะนั้น การที่จะ ส่งเสริมให้มีการเลี้ยงไก่พันธุ์แท้ในสภาพการเลี้ยงดูแบบนี้ด่อนข้างจะลำบาก อย่างไรก็ ตามยังมีหนทางที่จะปรับปรุงไก่พื้นบ้านให้ได้ผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้นโดยการคงสภาพ ข้อดีของไก่พื้นบ้านไว้ และในขณะเดียวกันก็แก้ไขข้อเสียของไก่พื้นบ้านโดยการหา ลักษณะที่ดีเด่นของไก่พันธุ์อื่นเข้ามาแทน การปรับปรุงลักษณะเช่นนี้สามารถทำได้ ง่าย ๆ โดยการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างไก่พันธุ์พื้นบ้านกับไก่พันธุ์แท้ที่มีลักษณะที่เรา ต้องการ ไก่ที่นำมาพิจารณา ในกรณีนี้ต้องเป็นไก่ที่เป็นพันธุ์ที่สามารถให้ผลผลิตทั้ง เนื้อและไข่ และค่อนข้างทนต่อสภาพภูมิอากาศแบบบ้านเราได้ ซึ่งเมื่อพิจารณาให้ดี แล้วจะพบว่า ไก่พันธุ์โรดไอแลนด์เรด ซึ่งนิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่าไก่โรดนั้นมีคุณสมบัติครบถ้วนดังที่กล่าวมา ดังนั้นเมื่อนำไก่ทั้งสองพันธุ์มาผสมข้ามพันธุ์แล้ว จะได้ไก่ที่ มีการเจริญเติบโตและการให้ไข่ที่ดีกว่าไก่พื้นบ้านเดิม นอกจากนี้มีความสามารถใน การหากินในสภาพการเลี้ยงแบบปล่อยลานบ้านเหมือนกับไก่พื้นบัานไดัอีกด้วย





นอกเหนือจากการปรับปรุงพันธู์ผู้เลี้ยงควรจะปฏิบัติดังนี้คื1. ควรมีการคัดเลือกลักษณะไก่ที่ดีเอาไว้ทำพันธุ์เพื่อทดแทนพ่อแม่พันธุ์รุ่น แรก ๆ อยู่ตลอดเวลา ปกติผู้เลี้ยงไก่มักจะมีการคัดเลือกลักษณะนี้ในทางกลับกัน คือ ไก่ตัวไหนที่โตเร็วแข็งแรงแทนที่จะถูกเก็บไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อไป มักจะถูกฆ่า เพือใช้บริโภคก่อน เหลือแต่พวกที่มีลักษณะไม่ดีไว้ทำพันธุ์ต่อไป ทำให้ ด้ลูกในรุ่น ต่อ ๆ ไปมีลักษณะเลวลง
2. ไม่ควรปล่อยให้พ่อพันธุ์ตัวหนึ่งตัวใดคุมฝูงนานเกินไป เนื่องจากจะทำให้ เกิดปัญหาเกี่ยวกับการผสมเลือดชืดมากขึ้น ซึ่งได้แก่ปัญหาอัตราการฟักออกเป็นตัวต่ำ ปริมาณไข่ลดลงกว่าปกติและมีอัตราการตายของลูกไก่สูงขึ้น เป็นต้น ถ้าไก่พ่อพันธุ์มีจำนวนจำกัด อาจใช้วิธีแลกเปลี่ยนพ่อพันธุ์กับเพื่อนบ้านก็ได
การผสมเลือดชิด การผสมสายเลือดชิด หมายถึง การนำลูกที่เกิดจากพ่อแม่ เดียวกัน หรือที่เกิดจากพ่อตัวเดียวกัน แต่ต่างแม่ หรือแม่ตัวเดียวกันแต่ต่างพ่อ มาผสมกันเอง หรือการนำพ่อหรือแม่มาผสมกับลูก การผสมสายเลือดชิดมักก่อให้ เกิดลักษณะผิดปกติ หรือลักษณะที่เลวร้ายขี้นมาก เช่น อัตราการฟักออกต่ำ ไม่ทนทานต่อสภาพแวดล้อม อัตราการเลี้ยงรอดต่ำ ไม่แข็งแรงเป็นต้น
การผสมสายเลือดชิดจะพบได้ง่ายในสภาพการเลี้ยงตามชนบท เพราะ เกษตรกรมักจะเลี้ยงไก่โดยใช้พ่อพันธุ์ประมาณ 1-2 ตัว ผสมกับแม่พันธุ์ จำนวนน้อย ตัว ดังนั้นลูกไก่ที่เกิดมาส่วนมากจะเป็นพี่น้องกันทางสายเลือด และถูกเลี้ยงให้ โตมาพร้อม ๆ กันโดยไม่มีพันธุ์ประวัติจึงไม่ทราบว่าตัวใดมาจากพ่อตัวไหน แม่ตัว ไหน เมื่อไก่เริ่มโตถึงวัยผสมพันธุ์ ไก่ที่เป็นพี่น้องกันก็อาจมาผสมกันเองหรืออาจ กลับไปผสมกับพ่อแม่ของตัวเอง ชี่งก่อให้เกิดปัญหาการเลี้ยงไก่ของชาวบ้านต้อง ประสบกับอัตราการตายที่สูงและ มีสุขภาพไม่แข็งแรงการแก้ไขส่าหรับปัญหาการผสมเลือดชิดกัน สามารถทำได้โดยนำไก่รุ่นเพศผู้ ไปแลกกับไก่บ้านเพศผู้ของหมู่บ้านอื่นมาใช้เพื่อคุมฝูงตัวเมียที่เก็บไว้ ส่วนไก่เพศผู้ที่ เหลืออาจจำหน่ายเพื่อนำเงินมาใช้ภายในครอบครัวได้ หรือจะใช้วิธีจำหน่ายไก่เพศผู้ ให้หมด แล้วไปชื้อพ่อไก่รุ่นจากหมู่บ้านอื่น หรือแหล่งอื่นมาทดแทน ซึ่งการทำเช่นนี้ จะช่วยให้ลูกไก่ที่เกิดมามีจำนวนเพิ่มขึ้น ลูกไก่แข็งแรง อัตราการเลี้ยงรอดสูง ขึ้น นอกจากนั้นยังจะทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของอากาศได้ดีขึ้นอีกด้วย
3. ควรมีการคัดพ่อแม่พันธุ์ที่อายุมาก ๆ ออกจากฝูง ทั้งนี้เพี่อปัองกันไม่ให้ อัตราการผสมติดของไก่ในฝูงต่ำ

4. มีอัตราส่วนระหว่างพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่เหมาะสมคือ ตัวผู้ต่อตัวเมีย ประมาณ 1 : 5 ถึง 1 : 10 ไม่ควรเกินกว่านี้ เพราะจะทำให้มีไข่ที่ไม่มีเชื้อมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น