วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558






                            การเลี้ยงไก่พื้นบ้าน


ปัจจุบันไก่พื้นบ้านได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นมาก เป็นเพราะไก่พื้นบ้านมี เนื้อ รสชาติอร่อยและเนื้อแน่น เป็นที่ถูกปากของผู้บริโภคทั่วไป จนมีแนวโน้มว่า จะสามารถส่งเนื้อไก่พื้นiบ้านออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ แต่ปัญหาคืะอปริมาณไก่ บ้านยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะเกษตรกริ.1่วนมากประมาณร้อยละ 70 80 เปอร์เซ็นต์ จะเลี้ยงไก่พื้นบ้านแบบหลังบ้านประมาณ 10 20 ตัวต่อครัว เรือน ซึ่งการเลี้ยงก็เป็นการเลี้ยงแบบปล่อยตามยถากรรม จึงเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสย พอสมควร แต่ถ้าเกษตรกรสามารถปรับใช้เทคนิคการเลี้ยงแบบเรือนโรงมาผสม ผสานกับการเลี้ยงแบบพื้นบ้านและมีการปรับปรุงพันธุ์ลูกผสมระหว่างไก่บ้านกับไก่ พันธุ์แท้แล้วย่อมส่งผลทำให้จำนวนไก่บ้านที่จะออกสู่ตลาดมีปริมาณที่สูงขึ้นอย่าง แน่นอน

 
 
 

1. ข้อดีของไก่พื้นบ้าน




1.1 หาอาหารเก่ง สามารถเลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติได้ ทำให้ประหยัด ค่าอาหารได้มาก
1.2 ทนต่อสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศได้เป็นอย่างดี
1.3 ทนต่อโรคพยาธิได้ดีกว่าไก่พันธุ์อื่น ๆ
1.4 มีความสามารถในการเลี้ยงลูกได้เก่ง
1.5 เนื้อของไก่พื้นบ้านมีรสชาติถูกปากคนไทยมากกว่าเนื้อของไก่ที่ผลิต เป็นอาหารโดยเฉพาะ2. ข้อเสียของไก่พื้นบ้าน
2.1 โตช้า ใช้เวลาเลี้ยงนานกว่าไก่ทางการค้ามาก
2.2 ให้ไข่น้อยปีหนึ่ง ๆ ให้ไข่เฉลี่ยประมาณ 40-50 ฟองต่อปี โดยจะให้ ไข่เป็น ชุด ๆ ละ 7 - 15 ฟอง
2 3 เมื่อไข่ครบชุดแล้วไก่พื้นบ้านมีนิสัยชอบฟักไข่ โดยจะฟักไข่ประมาณ 21 วัน ไข่จะออกเป็นลูกเจี๊ยบ และจะเลี้ยงลูกเจี๊ยบต่อไปอีกประมาณ 2 เดือน จึงจะเริ่มกลับมาให้ไข่ใหม่อีก
.ไก่พื้นบ้านที่เลี้ยงกันอยู์ในปัจจุบัน มีความแตกต่างกันออกไปในเรื่องของพันธุ์ และสายพันธุ์ตามสภาพท้องที่ต่าง า แต่อย่างไรก็ดีมักจะมีวัตถุประสงค์การเลี้ยงที่ เหมือน ๆ กันคือ เลี้ยงเพื่อเอาไข่และเนื้อ โดยปล่อยให้ไก่เหล่านั้นหาอาหารกินเอง ตามธรรมชาติ มีการเสริมอาหารให้บ้างเล็กน้อยไก่พื้นบ้านเหล่านี้มีสีต่างๆ กัน แต่ที่นิยมเลี้ยงกันมากและตลาดต้องการคือ ไก่ที่มีผิวหนังสีเหลืองและสีขนดำ
จากสภาพการเลี้ยงที่ปล่อยตามธรรมชาติ และขาดการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด ทำให้การที่จะนำไก่พันธุ์ดีเข้าไปเผยแพร่ เพี่อขจัดข้อเสียของไก่พื้นบ้านดังที่กล่าวมา แล้วเป็นไปได้ยาก เนื่องจากไก่พันธุ์ดีนั้น ๆ ต้องการการดูแลเอาใจใส่อย่างสม่ำ เสมอ ถ้าเอามาเลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติจะไม่ ได้ผลเท่าที่ควร ฉะนั้น การที่จะ ส่งเสริมให้มีการเลี้ยงไก่พันธุ์แท้ในสภาพการเลี้ยงดูแบบนี้ด่อนข้างจะลำบาก อย่างไรก็ ตามยังมีหนทางที่จะปรับปรุงไก่พื้นบ้านให้ได้ผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้นโดยการคงสภาพ ข้อดีของไก่พื้นบ้านไว้ และในขณะเดียวกันก็แก้ไขข้อเสียของไก่พื้นบ้านโดยการหา ลักษณะที่ดีเด่นของไก่พันธุ์อื่นเข้ามาแทน การปรับปรุงลักษณะเช่นนี้สามารถทำได้ ง่าย ๆ โดยการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างไก่พันธุ์พื้นบ้านกับไก่พันธุ์แท้ที่มีลักษณะที่เรา ต้องการ ไก่ที่นำมาพิจารณา ในกรณีนี้ต้องเป็นไก่ที่เป็นพันธุ์ที่สามารถให้ผลผลิตทั้ง เนื้อและไข่ และค่อนข้างทนต่อสภาพภูมิอากาศแบบบ้านเราได้ ซึ่งเมื่อพิจารณาให้ดี แล้วจะพบว่า ไก่พันธุ์โรดไอแลนด์เรด ซึ่งนิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่าไก่โรดนั้นมีคุณสมบัติครบถ้วนดังที่กล่าวมา ดังนั้นเมื่อนำไก่ทั้งสองพันธุ์มาผสมข้ามพันธุ์แล้ว จะได้ไก่ที่ มีการเจริญเติบโตและการให้ไข่ที่ดีกว่าไก่พื้นบ้านเดิม นอกจากนี้มีความสามารถใน การหากินในสภาพการเลี้ยงแบบปล่อยลานบ้านเหมือนกับไก่พื้นบัานไดัอีกด้วย





นอกเหนือจากการปรับปรุงพันธู์ผู้เลี้ยงควรจะปฏิบัติดังนี้คื1. ควรมีการคัดเลือกลักษณะไก่ที่ดีเอาไว้ทำพันธุ์เพื่อทดแทนพ่อแม่พันธุ์รุ่น แรก ๆ อยู่ตลอดเวลา ปกติผู้เลี้ยงไก่มักจะมีการคัดเลือกลักษณะนี้ในทางกลับกัน คือ ไก่ตัวไหนที่โตเร็วแข็งแรงแทนที่จะถูกเก็บไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อไป มักจะถูกฆ่า เพือใช้บริโภคก่อน เหลือแต่พวกที่มีลักษณะไม่ดีไว้ทำพันธุ์ต่อไป ทำให้ ด้ลูกในรุ่น ต่อ ๆ ไปมีลักษณะเลวลง
2. ไม่ควรปล่อยให้พ่อพันธุ์ตัวหนึ่งตัวใดคุมฝูงนานเกินไป เนื่องจากจะทำให้ เกิดปัญหาเกี่ยวกับการผสมเลือดชืดมากขึ้น ซึ่งได้แก่ปัญหาอัตราการฟักออกเป็นตัวต่ำ ปริมาณไข่ลดลงกว่าปกติและมีอัตราการตายของลูกไก่สูงขึ้น เป็นต้น ถ้าไก่พ่อพันธุ์มีจำนวนจำกัด อาจใช้วิธีแลกเปลี่ยนพ่อพันธุ์กับเพื่อนบ้านก็ได
การผสมเลือดชิด การผสมสายเลือดชิด หมายถึง การนำลูกที่เกิดจากพ่อแม่ เดียวกัน หรือที่เกิดจากพ่อตัวเดียวกัน แต่ต่างแม่ หรือแม่ตัวเดียวกันแต่ต่างพ่อ มาผสมกันเอง หรือการนำพ่อหรือแม่มาผสมกับลูก การผสมสายเลือดชิดมักก่อให้ เกิดลักษณะผิดปกติ หรือลักษณะที่เลวร้ายขี้นมาก เช่น อัตราการฟักออกต่ำ ไม่ทนทานต่อสภาพแวดล้อม อัตราการเลี้ยงรอดต่ำ ไม่แข็งแรงเป็นต้น
การผสมสายเลือดชิดจะพบได้ง่ายในสภาพการเลี้ยงตามชนบท เพราะ เกษตรกรมักจะเลี้ยงไก่โดยใช้พ่อพันธุ์ประมาณ 1-2 ตัว ผสมกับแม่พันธุ์ จำนวนน้อย ตัว ดังนั้นลูกไก่ที่เกิดมาส่วนมากจะเป็นพี่น้องกันทางสายเลือด และถูกเลี้ยงให้ โตมาพร้อม ๆ กันโดยไม่มีพันธุ์ประวัติจึงไม่ทราบว่าตัวใดมาจากพ่อตัวไหน แม่ตัว ไหน เมื่อไก่เริ่มโตถึงวัยผสมพันธุ์ ไก่ที่เป็นพี่น้องกันก็อาจมาผสมกันเองหรืออาจ กลับไปผสมกับพ่อแม่ของตัวเอง ชี่งก่อให้เกิดปัญหาการเลี้ยงไก่ของชาวบ้านต้อง ประสบกับอัตราการตายที่สูงและ มีสุขภาพไม่แข็งแรงการแก้ไขส่าหรับปัญหาการผสมเลือดชิดกัน สามารถทำได้โดยนำไก่รุ่นเพศผู้ ไปแลกกับไก่บ้านเพศผู้ของหมู่บ้านอื่นมาใช้เพื่อคุมฝูงตัวเมียที่เก็บไว้ ส่วนไก่เพศผู้ที่ เหลืออาจจำหน่ายเพื่อนำเงินมาใช้ภายในครอบครัวได้ หรือจะใช้วิธีจำหน่ายไก่เพศผู้ ให้หมด แล้วไปชื้อพ่อไก่รุ่นจากหมู่บ้านอื่น หรือแหล่งอื่นมาทดแทน ซึ่งการทำเช่นนี้ จะช่วยให้ลูกไก่ที่เกิดมามีจำนวนเพิ่มขึ้น ลูกไก่แข็งแรง อัตราการเลี้ยงรอดสูง ขึ้น นอกจากนั้นยังจะทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของอากาศได้ดีขึ้นอีกด้วย
3. ควรมีการคัดพ่อแม่พันธุ์ที่อายุมาก ๆ ออกจากฝูง ทั้งนี้เพี่อปัองกันไม่ให้ อัตราการผสมติดของไก่ในฝูงต่ำ

4. มีอัตราส่วนระหว่างพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่เหมาะสมคือ ตัวผู้ต่อตัวเมีย ประมาณ 1 : 5 ถึง 1 : 10 ไม่ควรเกินกว่านี้ เพราะจะทำให้มีไข่ที่ไม่มีเชื้อมากขึ้น

                             การเลี้ยงสุกร หรือ การเลี้ยงหมู


ทั้งนี้เพราะสามารถเลี้ยงเป็นฟาร์มเล็กๆจำนวนไม่กี่ตัวก็ได้ เพราะใช้พื้นที่น้อยเลี้ยงง่ายใช้แรงงานน้อย
และสามารถนำเศษอาหารมาใช้เป็นอาหารของสุกรได้
นอกจากนี้มูลสุกรยังสามารถนำมาเป็นปุ๋ยหรืออาหารในบ่อเลี้ยงปลาได้ สุกรเป็นสัตว์เลี้ยงที่ขยายพันธุ์ได้เร็วมีลูกดก
จึงเป็นกิจการที่ให้ผลกำไรดี ทำให้เป็นที่นิยมเลี้ยงกันมาก
  – เนื้อสุกรนั้นเป็นที่นิยมของผู้บริโภคเป็นส่วนมาก และ สามารถขายหรือจำหน่ายได้หลายๆตลาดทั้งในท้องถิ่นและตลาดที่รับซื้อทั่วไปในเมือง
โดยผู้คนหรือเกษตรกร สามารถเลี้ยงสุกรได้ทั้งแบบเป็นฟาร์มขนาดเล็ก,ฟาร์มขนาดใหญ่ เนื่องด้วยการเลี้ยงสุกรนั้นใช้พื้นที่ไม่มากแถมยังมีการเลี้ยงที่ง่ายและไม่สับซ้อนจนเกินไป
ในวันนี้ฟาร์มไทยจะมาแนะนำการเลี้ยงสุกรขุน เพราะการเลี้ยงสุกรขุนจะใช้เงินลงทุนน้อยกว่าการเลี้ยงสุกร หรือ การเลี้ยงหมู ในแบบอื่นๆ
และแถมการเลี้ยงสุกรขุนนั้นยังให้ผลตอบแทนที่ดีอีกด้วย
- แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้เลี้ยงหรือเกษตรกรก็ต้องมีเงินลงทุนไว้สำหรับใช้จ่ายในส่วนของค่าอาหารเพื่อให้สุกรมีอาหารได้กินอย่างเพียงพอด้วยเช่นกัน
- ส่วนเรื่องสถานที่การเลี้ยงนั้น เกษตรกรควรจะสร้างโรงเรือนให้อยู่ห่างจากชุมชนสักหน่อยถ้าเป็นไปได้
เพราะการเลี้ยงสุกรอาจจะทำให้มีกลิ่นที่แรงและอาจจะไม่เป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชนในย่านนั้น หรือไม่เกษตรกรก็ต้องมีการจัดการกับระบบมูลสุกรหรือของเสียที่อาจจะส่งกลิ่นออกมาให้ดี แหละถ้าให้ดีควรอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบอาหารที่สามารถหาซื้อได้โดยไม่แพงมากจนเกินไป หรือ อาจจะใกล้แหล่งที่สามารถหาอาหารเหลือใช้จากครัวเรือน หรือระบบไร่นาเพื่อใช้เป็นอาหารเลี้ยงสุกรได้อย่างเพืยงพอ
-  การตลาดเกษตรกรก็ควรศึกษาหาแหล่งตลาดที่รับซื้อสุกร ขายสุกร ทั้งที่สุกรยังมีชีวิต และตลาดที่รับสุกรชำแหละแล้วไว้ด้วย
โดยพันธุ์สุกรที่เกษตรกรหรือผู้คนทั่วไปที่เลี้ยงสุกร จะนิยมนำมาขุน ส่วมมากจะนิยมใช้ผสม 2, 3, หรือ 4 สายพันธุ์
ซึ่งจะมีลักษณะการให้ผลผลิต การเติบโต และ ความแข็งแรง ที่ดีกว่าการได้จากพ่อและแม่พันธุ์ที่ให้กำเนิดพันธุ์เดียวกัน
พันธุ์ที่ส่วนมากใช้ในการผสมข้ามสายพันธุ์มีหลายพันธุ์ อย่าเช่น พันธุ์ลาร์จไวน์ พันธุ์แลนด์เรช และพันธุ์ดูร็อคเจอร์ซี่ เป็นตัน
- ฟาร์มหรือโรงเรือนที่ใช้เลี้ยงสุกร ควรตั้งอยู่ในที่น้ำไม่ท่วม สามารถระบายน้ำได้ดี ห่างไกลจากชุมชน หรือ ตลาด ต่างๆ
โรงเรือนที่ใช้เลี้ยงสุกรต้องสามารถป้องกันแดด กันฝน และ กันลม ยิ่งถ้าช่วงในฤดูร้อนควรจะต้องดูแลเป็นพิเศษ
- พื้นในคอกของสถานที่เลี้ยงควรเป็นพื้นคอนกรีต เพื่อความสะดวกในการทำความสะอาด
โดยขนาดของคอกควรมีประมาณ 4 x 35 เมตร จึงจะสามารถเลี้ยงสุกรขุน ที่มีขนาด 60 – 100 กิโลกรัม ประมาณ 8 – 10 ตัว
ส่วนความยาวของคอกนั้นให้ขึ้นอยู่กับว่า จำนวนสุกรที่เกษตรกรเลี้ยงมีตำนวนมากเท่่าไหร่
- การให้อาหารสุกร
โดยสุกรนั้นเป็นสัตว์กระเพาะเดียว ไม่สามารถย่อยอาหารที่มีเยื่อมากๆได้ดีเหมือนสัตว์กระเพาะรวมชนิดอื่นๆ
ดังนั้นอาหารที่ใช้เลี้ยงสุกร จึงควรจะต้องมีโภชนาการที่ครบถ้วน อาหารสำหรับสุกรขุนส่วนใหญ่จะนิยมใช้อาหารแบบสำเร็จรูป หรือ ผู้เพาะเลี้ยง เกษตรกรบางรายอาจผสมอาหารเพื่อใช้เลี้ยงสุกรเอง ซึ่งจะช่วยให้ลดต้นทุนการผลิต โดยใช้หัวอาหารผสมรวมกับรำ, ปลายข้าว หรือวัสดุอื่น ๆ
ตามสัดส่วนที่เกษตรกรเป็นคนกำหนด และการให้อาหารสุกรแต่ละช่วงนั้นจะต้องมีความสอดคล้องกับความต้องการบริโภคของสุกร
ในแต่ละช่วงอายุของตัวสุกร
- โดยการจัดการเลี้ยงดูแลสุกร
เกษตรกรควรเริ่มเลี้ยงสุกรขุน ตั้งแต่ระยะที่สุกรนั้นหย่านม โดยมีน้ำหนักที่ประมาณ 20 กิโลกรัม โดยใช้อาหารที่มีโปรตีนประมาณ 18 เปอร์เซ็นต์ และให้สุกรกินเต็มที่ประมาณวันละ 1 – 2 กิโลกรัม จากนั้นเมื่อสุกรขุนมีน้ำหนักประมาณ 60 กิโลกรัม ก็จะเปลี่ยนอาหารโดยใช้อาหารที่มีโปรตีน 16 เปอร์เซ็นต์แทน และให้สุกรกินอาหารวันละ 2.5 – 3.5 กิโลกรัม จนถึงระยะที่จะส่งตลาดเมื่อสุกรมีน้ำหนัก ประมาณ 100 กิโลกรัม โดยตลอดระยะเวลาการเลี้ยงสุกรนั้น จะต้องมีน้ำสะอาดให้สุกรกินตลอดทั้งวัน
- ด้านความสะอาดของสถานที่เลี้ยงหรือคอก
เกษตรกรควรทำความสะอาดพื้นคอกสุกรอยู่เป็นประจำ เพื่อลดการหมักหมมของเชื้อโรคต่างๆ ที่อาจจะนำโรคมาสู้ตัวสุกรได้ และอีกทั้งยังป้องกันกลิ่นจากมูลสุกรไปรบกวนชุมชนสถานที่ใกล้เคียงอีกด้วยอีกด้วย และสุกรทุกตัวต้องมีการถ่ายพยาธิ และ จัดฉีดวัคซีนตามกำหนด ที่เราได้ตั้งไว้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สุกรมีสุขภาพที่ดี
** ทั้งนี้ ก่อนผู้ที่สนใจหรือเกษตรกรคนไหน มีการตัดสินใจที่จะเลี้ยงสุกร หรือ เลี้ยงหมู จึงจำเป็นที่ควรจะต้องศึกษาข้อมูล รายละเอียด และมีการวางแผนในระบบต่างๆ ก่อนที่จะเลี้ยงให้แน่ชัด เพื่อที่เมื่อเกษตรทำการเลี้ยงสุกรไปแล้วนั้นจะได้ มีผลผลิตและกำไรอย่างที่ตั้งใจไว้

                                           ข้าวโพดหวาน  

 ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับหญ้าหรือข้าว ข้าวโพดหวานมีคุณประโยชน์มากมาย นอกจากจะใช้รับประทานเป็นผักสดแล้ว ยังสามารถนำไปแปรรูปได้หลาย รูปแบบ เช่น ข้าวโพดหวานบรรจุึกระป๋องทั้งฝัก หรือบรรจุกระป๋องเฉพาะเมล็ด ทำครีมข้าวโพดหวาน ข้าวโพดแช่แข็ง ซึ่งผลิตภัณฑ์ ต่างๆ เหล่านี้ สามารถส่งไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน และกลุ่มประเทศในแถบยุโรป

ฤดูปลูก

ข้าวโพดหวานสามารถ ปลูกได้ตลอดปี แต่นิยมปลูกกันมากในช่วงฤดูฝน และสามารถปลูกได้ดีในดินทุกสภาพ แต่จะขึ้นได้ดีในสภาพดินร่วนปนทราย จะทำให้ผลผลิตดีและเก็บเกี่ยวได้เร็วกว่าความเป็นกรด-ด่าง ของดินที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 6.0-6.5 ข้าวโพดหวานต้องการแสงแดด เต็มที่ตลอดวัน

อุณหภูมิที่เหมาะสม

อุณหภูมิที่เหมาะสมในการปลูกข้าวโพดหวาน เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงที่สุดจะอยู่ในช่วง 24-30 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิกลางคืน อยู่ในช่วง 15-18 องศาเซลเซียส จะทำให้ข้าวโพดหวานมีคุณภาพดีและมีความหวานสูง

การเตรียมแปลงปลูก

การปลูกข้าวโพดหวานจะแตกต่างจากการปลูกข้าวโพดไร่ เพราะข้าวโพดหวานต้องดูแล และปฏิบัติอย่างพิถีพิถัน เช่นเดียวกับการ ปลูกพืชผัก จึงจะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ดังนั้นในการเตรียมดินและการปลูกต้องการทำอย่างประณีต โดยการไถดินลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร แล้วตากทิ้งไว้ 7-10 วัน เพื่อกำจัดไข่แมลงและเมล็ดวัชพืช หากมีการใส่ปุ๋ยคอกหรือหว่านปูนขาวเพื่อปรับ สภาพดินควรใส่ในช่วงนี้ แล้วจึงไถพรวนอีกครั้ง จากนั้นวัดระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 80-100 เซนติเมตร ความยาวขึ้นอยู่กับ พื้นที่ ทำการขุดเป็นร่องลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร ถ้าหากสภาพดินแห้งไม่มีความชื้น ควรปล่อยน้ำเข้าตามร่อง หรือทำให้ดิน มีความชื้นบริเวณ

การปลูกข้าวโพดหวาน

ทำการเจาะหลุมปลูกบริเวณข้างๆ ร่อง ใช้ระยะห่างระหว่างหลุม(ต้น) ประมาณ 25-35 เซนติเมตร นำเมล็ดข้าวโพดหวานหยอดลงไป หลุมละ 1-2 เมล็ด ในพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 1-1.5 กิโลกรัม หลังหยอดเมล็ดแล้วไม่ควรปล่อยดินแห้งเกินไป ควรให้ดินมีความชื้นอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรให้น้ำมากเกินไป ซึ่งจะทำให้เมล็ดข้าวโพดเน่าได้ หลังจากหยอดเมล็ดพันธุ์ 5-7 วัน ข้าวโพดก็จะเริ่มงอก ให้สังเกตุดูว่าถ้าหลุมที่ไม่งอกให้รีบปลูกซ่อมทันที

การปฏิบัติดูแลรักษาข้าวโพดหวาน

การถอนแยกต้น ควรกระทำหลังจากหยอดเมล็ด 12-14 วัน โดยการถอนแยกให้เหลือหลุมละ 1 ต้น
การให้ปุ๋ย
ครั้งที่ 1 หลังจากหยอดเมล็ดประมาณ 14-10 วัน โดยการใส่ปุ๋ย 46-0-0 ผสมกับปุ๋ย 15-15-15 ในอัตรา 1:1 (ประมาณ 50 ก.ก./ไร่) โดยหว่านที่ร่องน้ำข้างๆ ต้น แล้วกลบโคนต้น
ครั้งที่ 2 เมื่อข้าวโพดหวานเริ่มติดฝักอ่อนโดยการใส่ปุ๋ยสูตร 14-14-21 หรือ 13-13-21 อัตราประมาณ 50 ก.ก./ไร่ โดยหว่าน ที่ร่องพื้นแล้วกลบโคนต้น
การใ้หน้ำ ให้น้ำอย่างสม่ำเสมออย่าให้ขาดน้ำ โดยปล่อยเข้าตามร่องน้ำหรือให้แบบสปริงเกอร์
การกำจัดวัชพืช กระทำพร้อมๆ กับการกลบโคนต้นและการให้ปุ๋ย
การฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคและแมลง การปลูกข้าวโพดหวานต้องระวังในเรื่องของหนอนเจาะฝัก หรือเจาะลำต้น ควรฉีดพ่น ยาพวกคาร์บาริล หรือยาพวกถูกตัวตาย เช่น เมทโธมิล

การเก็บเกี่ยวและการรักษา

การเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวานเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ที่จะทำให้ข้าวโพดหวานมคุณภาพดีหรือเลว ไม่ว่าจะเป็นข้าวโพดหวานเพื่อส่ง โรงงานหรือจำหน่ายฝักส ควรเลือกเก็บเกี่ยวในระยะที่มีน้ำตางสูงที่สุด และคุณภาพดีที่สุด หรือระยะที่เรียกว่า ระยะน้ำนม(Milk Stage) หากเลยระยะนี้ไปแล้วปริมาณน้ำตาลจะลดลงและมีแป้งเพิ่มขึ้น การเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวานมีหลักพิจารณาง่ายๆ คือ
  1. นับอายุ หลังจากวันหยอดเมล็ด วิธีการนี้ต้องทราบอายุของข้าวโพดหวานแต่ละพันธุ์ว่าเป็นพันธุ์หนัก, เบา หรือปานกลาง เช่นพันธุ์เบา อายุ 55-65 วัน พันธุ์ปานกลาง 70-85 วัน และพันธุ์หนักตั้งแต่ 90 วันขึ้นไป
  2. เก็บสุ่มตัวอย่างในแปลงมาตรวจดู วิธีนี้แน่นอน และนิยมกระทำกัีนมากที่สุด การเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวาน ควรเก็บเกี่ยวในเวลา เช้าตรู่และรีบส่งตลาดทันที ไม่ควรทิ้งไว้เกิน 24 ชั่วโมง เพราะจะทำให้น้ำตาลลดลง

วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558


                                                               สมุนไพรผักแพว

 เป็นผักสมุนไพรที่มีชื่อเรียกในแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกันออกไป อาจทำให้มีชื่อคล้ายกัน หรือไปซ้ำกับพืชชนิดอื่นๆ ที่เป็นคนละชนิดหรือต่างวงศ์กันเลย ซึ่งอาจทำให้เกิดความสับสนได้ แต่ถ้าหากพูดถึงผักแพว เราจะนึกถึงผักที่มีใบเขียวเรียวแหลมคล้ายใบไผ่ (ทำให้ทางภาคเหนือเรียกว่าผักชนิดว่า “ผักไผ่“) และมีลำต้นสีแดงจนบางครั้งเราอาจเรียกว่า “ผักแพวแดง” แต่อย่าไปจำสับสนกับผักอีแปะที่ใบมีลักษณะเป็นรูปหัวใจ อันนั้นคือไม้ประดับนำเข้าจากต่างประเทศครับ ซึ่งผมได้รวบรวมข้อมูลจากที่ต่างๆ และผมขอสรุปตามความเข้าใจดังนี้ครับ
  • ผักแพว หรือ ผักไผ่ หรือ ผักแพวไทย (บางพื้นที่อาจเรียกว่าผักแพวแดง) เป็นชนิดที่มีลำต้นแดง สามารถพบได้ทั่วไป (Polygonum odoratum Lour. จัดอยู่ในวงศ์ POLYGONACEAE)
  • ผักแพวขาว เป็นชนิดเดียวกันกับผักไผ่ แต่มีลำต้นเขียวอ่อน (Polygonum odoratum Lour. จัดอยู่ในวงศ์ POLYGONACEAE)
  • ผักไผ่น้ำ หรือ เอื้องเพ็ดม้า (Polygonum tomentosum Willd. หรือ Costus speciosus Smith จัดอยู่ในวงศ์ POLYGONACEAE)
  • ผักแพวแดงฝรั่ง หรือ ผักแพวแดง (Iresine herbstii Hook. จัดอยู่ในวงศ์ AMARANTHACEAE)
  • ผักแพวน้ำ (Alternanthera sessilis DC. จัดอยู่ในวงศ์ AMARANTHACEAE)
  • ผักแพวขาว หรือที่นิยมเรียกว่า หญ้างวงช้าง (Heliotropium indicum Linn. จัดอยู่ในวงศ์ Boraginaceae)

ลักษณะของผัวแพว

  • ต้นผักแพว จัดเป็นพืชล้มลุก มีลำต้นสูงประมาณ 30-35 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรงมีข้อเป็นระยะๆ ตามข้อมักมีรากงอกออกมา หรือลำต้นเป็นแบบทอดเลื้อยไปตามพื้นดินและมีรากงอกออกมาตามส่วนที่สัมผัสกับพื้นดิน เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในที่ชื้นแฉะ เช่น ในบริเวณห้วย หนอง คลอง บึง หรือตามแอ่งน้ำต่างๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด และการใช้ลำต้นปักชำ (เมล็ดงอกยาก นิยมใช้กิ่งปักชำมากกว่า) พรรณไม้ชนิดนี้เป็นพืชล้มลุกพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย เพราะเกิดได้เองตามธรรมชาติ
  • ใบผักแพว มีใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปหอกหรือรูปหอกแกมรูปไข่ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5.5-8 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลมคล้ายใบไผ่ แต่บางกว่า ขอบใบเรียบ ฐานใบเป็นรูปลิ่ม ก้านใบสั้นมีหูใบลักษณะคล้ายปลอกหุ้มรอบลำต้นอยู่บริเวณเหนือข้อของลำต้น
  • ดอกผักแพว ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกมีดอกย่อยขนาดเล็กสีขาวนวลหรือชมพูม่วง
  • ผลผักแพว ผลมีขนาดเล็กมาก

สรรพคุณของผักแพว

  1. ผักแพวอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด ที่ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย และช่วยในการชะลอวัย (ใบ)
  2. ช่วยป้องกันและต่อต้านมะเร็ง (ใบ)
  3. ช่วยป้องกันโรคหัวใจ (ใบ)
  4. ใบใช้รับประทานช่วยทำให้เจริญอาหาร (ใบ)
  5. ช่วยบำรุงประสาท (ราก)
  6. รสเผ็ดของผักแพว มีสรรพคุณที่ช่วยทำให้เลือดลมในร่างกายเดินสะดวกมากขึ้น (ใบ)
  7. ช่วยรักษาโรคหวัด (ใบ)
  8. ดอกผักแพว สรรพคุณช่วยขับเหงื่อ (ดอก)
  9. ช่วยรักษาโรคปอด (ดอก)
  10. ช่วยรักษาหอบหืด (ราก)
  11. ช่วยแก้อาการไอ (ราก)
  12. ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันและแก้อาการท้องผูก และช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ เพราะเป็นผักที่มีไฟเบอร์สูงถึง 9.7 กรัม ซึ่งจัดอยู่ในผักที่มีเส้นในอาหารมากที่สุด 10 อันดับของผักพื้นบ้านไทย (ใบ)
  13. ผักแพวมีรสเผ็ดร้อน จึงมีสรรพคุณในช่วยแก้ลม ขับลมในกระเพาะอาหาร แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ (ใบ,ยอดผักแพว)ใช้เป็นยาขับลมขึ้นเบื้องบน ช่วยให้เรอระบายลมออกมาเวลาท้องขึ้น ท้องเฟ้อ (ใบ,ดอก,ต้นราก)
  14. รากผักแพว สรรพคุณช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร (ราก)แก้กระเพาะอาหารพิการ หรือกระเพาะอักเสบ (ใบ,ดอก,ต้นราก)
  15. ช่วยแก้ท้องเสีย อุจจาระพิการ (ใบ,ดอก,ต้นราก)
  16. ช่วยแก้อาการเจ็บท้อง (ใบ,ดอก,ต้นราก)
  17. ช่วยแก้อาการท้องรุ้งพุงมาน (ใบ,ดอก,ต้นราก)
  18. ใบผักแพว สรรพคุณช่วยรักษาโรคตัวจี๊ด แต่ต้องรับประทานติดต่อกัน 5-8 วัน
  19. ลำต้นผักแพว สรรพคุณใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ต้น)
  20. ราก ต้น ใบ และดอก นำมาปรุงเป็นยาได้ใช้รักษาริดสีดวงทวาร (ใบ,ดอก,ต้นราก)
  21. ช่วยรักษาโรคตับแข็ง (ใบ)
  22. ช่วยลดอาการอักเสบ (ใบ)
  23. ใบผักแพว สรรพคุณใช้แก้ตุ่มคัน ผดผื่นคันจากเชื้อรา เป็นกลากเกลื้อน ด้วยการใช้ใบหรือทั้งต้นนำมาคั้นหรือตำผสมกับเหล้าขาว แล้วใช้เป็นยาทา (ใบ,ทั้งต้น)
  24. ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย (ราก)
  25. ช่วยรักษาอาการปวดข้อ ปวดกระดูก (ราก)
  26. ช่วยแก้เส้นประสาทพิการ แก้เหน็บชาตามปลายนิ้วมือปลายเท้า และอาการมือสั่น (ใบ,ดอก,ต้นราก)[8]
  27. ใช้ปรุงเป็นยาบำรุงเลือดลมของสตรี (ใบ,ดอก,ต้นราก)

ประโยชน์ของผักแพว
  1. รสเผ็ดของผักแพว ช่วยเพิ่มการเผาผลาญไขมันในเลือด เหมาะเป็นผักสมุนไพรลดความอ้วนได้โดยไม่ขาดสารอาหาร เพราะอุดมไปด้วยเส้นใยและวิตามิน แต่ต้องรับประทานในปริมาณที่มากพอหรือวันละไม่น้อยกว่า 3 ขีด
  2. ผักแพวมีวิตามินเอสูง จึงช่วยบำรุงและรักษาสายตาได้เป็นอย่างดี โดยวิตามินสูงถึง 8,112 หน่วยสากล ในขณะที่อีกข้อมูลระบุว่ามีมากถึง 13,750 มิลลิกรัม
  3. ผักแพวเป็นผักที่ติดอันดับ 8 ของผักที่มีวิตามินซีสูงสุด โดยมีวิตามินซี 115 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนัก 100 กรัม
  4. ผักแพวมีแคลเซียมสูงถึง 390 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม จึงช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรงได้เป็นอย่างดี
  5. ผักแพวมีธาตุเหล็กสูงสุดติด 1 ใน 5 อันดับของผักที่มีธาตุเหล็กสูง
  6. ยอดอ่อนและใบอ่อน ใช้ประกอบอาหาร หรือใช้รับประทานเป็นผักสด หรือใช้แกล้มกับอาหารที่มีรสจัด ใช้เป็นเครื่องเคียงของอาหารอีสาน อาหารเหนือ อาหารเวียดนามหรือนำมาหั่นเป็นฝอยใช้คลุกเป็นเครื่องปรุงสดประกอบอาหารประเภทลาบ ลู่ ตำซั่ว ก้อยกุ้งสด ข้าวยำ แกงส้ม เป็นต้น


             วิธีการปลูกผักชี

เตรียมดิน

จะปลูกในแปลงปลูกยกร่องขุดคูน้ำโดยรอบ หรือจะปลูกในแปลงนาก็ได้ ผักชีเป็นพืชที่มีรากตื้น การเตรียมดินให้ขุดพลิกดินที่ความลึกประมาณ 15 เซ็นติเมตร จากนั้นปล่อยดินตากทิ้งไว้ให้แห้งประมาณ 5 วัน
นำดินที่เป็นก้อนพรวนให้แตกทั้งหมด แล้วนำไปคลุกกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก
การนำผักชีมาใช้ประโยชน์นั้นนอกจากเราใช้ต้นแล้ว ยังใช้รากด้วย ดังนั้นดินที่ปลูกจะต้องมีความร่วนซุยเพื่อที่ถอนขึ้นมาแล้วได้รากผักชีที่สมบูรณ์

เตรียมเมล็ดพันธุ์ผักชี

โดยทั่วไปพันธุ์ผักชีที่นิยมปลูกได้แก่ พันธุ์ไต้หวัน พันธุ์สิงคโปร์ และพันธุ์สิงคโปร์เมล็ดดำ ซึ่งท่านสามารถหาซื้อได้ตามร้านจำหน่ายเมล็ดผักทั่วไป แต่หากทำการปลูกผักชีอยู่แล้ว และต้องการนำเมล็ดหากผลมาเพาะ ให้นำผลมาบดให้แตกเป็นสองซีก แล้วนำไปแช่น้ำประมาณ 2-3 ชั่วโมง หากนั้นนำขึ้นมาตากผึ่งลมให้แห้ง จากนั้นนำไปคลุกกับทรายหรือขี้เถ้าจนเมล็ดเริ่มงอก จึงค่อยไปหว่านในแปลงปลูก

วิธีการปลูก

เริ่มด้วยการรดน้ำให้ทั่วแปลงปลูก หากนั้นนำเมล็ดที่เตรียมไว้มาหว่านลงในแปลง แล้วกลบด้วยดินบางๆ คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้งอีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันต้นอ่อนจากแสงแดดและรักษาความชื้นของผิวดิน หลังหว่านเสร็จรดน้ำให้ชุ่ม
เมื่อผักชีเริ่มขึ้นให้ทำการถอนแยก เหลือระยะระหว่างต้นประมาณ 10-20 เซนติเมตร
ระหว่างปลูกหากพบว่ามีวัชพืชขึ้นในแปลง ให้ทำการถอนทิ้งโดยเร็วที่สุด อย่าปล่อยทิ้งไว้ เพราะวัชพืชจะแย่งน้ำและสารอาหารในดิน

การดูแลรักษาต้นผักชี

การใส่ปุ๋ย

ตอนเตรียมดินปลูกให้ใส่ปุ๋ยคอกรองพื้น เมื่อผักชีแตกใบหากต้องการเร่งให้โตเร็ว ใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) ประมาณ 15-30 กรัม ผสมน้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่นในแปลงให้ทั่ว
การใส่ปุ๋ยปลูกผักชีนั้น มีหลักการแตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ อย่างไรก็ตามส่วนที่สำคัญที่สุด คือปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก

การรดน้ำ

รดน้ำวันละ 2 ครั้ง ในเวลาเช้า 1 ครั้ง และเย็นอีกครั้ง  เนื่องจากผักชีเป็นพืชที่ต้้องการน้ำมาก แต่ที่ต้องระวังคืออย่าให้น้ำขัง หรือรดจนเปียกมากไป เพราะทำให้เน่าได้

โรคและแมลง

ที่พบบ่อยได้แก่
โรคเน่าที่ใบและโคนต้น  ซึ่งป้องกันกำจัดได้โดยการฉีดพ่นสารแมนโคเซป เช่น ไดเทนเอ็ม 45 ในอัตราตามคำแนะนำที่ฉลาก
โรคใบไหม้ป้องกันกำจัดโดยการฉีดพ่นสารมาเน็บ เช่น ไดแทนเอ็ม 22, แมนเซทดี, แคปเทน เช่น ออร์โธไซด์ ในอัตราตามคำแนะนำที่ฉลาก
ผักชีไม่ค่อยมีแมลงรบกวน แต่หากพบเพลี้ยเข้ามารบกวน เกษตกรสามารถป้องกันกำจัดได้โดยใช้คาร์บาริล เช่น เซฟวิน, คาร์โบซัลแฟน เช่น พอสซ์ อัตราตามคำแนะนำที่ฉลาก ผสมน้ำฉีดให้ทั่ว

การเก็บเกี่ยวผักชี 

ระยะการเก็บเกี่ยวผลผลิตของผักชีอยู่ที่ 30-45 วัน เมื่อครบกำหนดเวลาแล้วและเห็นว่าต้นผักชีที่ปลูกไว้มีขนาดเหมาะสม ให้เก็บผักชีโดย รดน้ำในแปลงในชุ่มเสียก่อน จากนั้นใช้มือถอนทั้งต้นและรากขึ้นมาอย่าให้ขาดจากกัน  เมื่อถอนเสร็จแล้วนำไปล้างน้ำ ตกแต่งด้วยการเด็ดใบที่มีสีเหลือง และใบที่เสียทิ้ง
นำผักชีที่ได้ไปมัด มัดละ 1 กิโลกรัม และเอาไปวางผึ่งลมก่อนบรรจุเข่ง สาเหตุที่ต้องผึ่งลมก่อน เพื่อให้ผักชีไม่เน่าเละขณะขนส่งอันเนื่องมาจากน้ำแฉะเกินไป

ประโยชน์ทางสมุนไพรของผักชี

แก้บิดถ่ายเป็นเลือด
- นำผลผักชี 1 ถ้วยชามาตำผสมน้ำตาลทราย แล้วนำไปผสมน้ำดื่ม
แก้ริดสีดวงทวาร มีเลือดออก
- นำผลผักชีสด ไปบดให้แตก แล้วผสมเหล้าดื่มวันละ 5 ครั้ง
- ใช้ต้นสด 120 กรัม ใส่นม 2 แก้ว ผสมน้ำตาล ดื่ม
แก้ท้องอืดเฟ้อ
- ใช้ผล 2 ช้อนชา ต้มน้ำดื่ม
แก้ปวดฟัน ปากเจ็บ
- นำเมล็ดผักชีไปต้มกับน้ำ แล้วใช้อมบ้วนปากบ่อยๆ จะช่วยรักษาอาการปวดฟัน และเจ็บปากได้

วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2558

การเลี้ยงไก่ไข่
        สวัสดีครับ สำหรับวันนี้ผมขอเล่าถึงวิธีการเลี้ยงไก่ไข่ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งอาชีพเกษตรที่น่าสนใจไม่น้อย ในขณะเดียวกันก็สามารถสร้างผลกำไรอย่างเป็นกอบเป็นกำได้อย่างไม่ยาก หากแต่มีใครพอจะรู้ไหมว่าการเลี้ยงไก่ไข่นั้นต้องมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลยครับ


1. การเลือกไม่ไก่ไข่ การเลือกแม่ไก่ที่จะทำหน้าทีผลิตไข่ทองคำให้เรานั้นมีอยู่ 2 แบบใหญ่ๆด้วยกันนั้นก็คือ การเลี้ยงลูกไก่ และการเลี้ยงไก่ที่โตเตรียมฟักไข่แล้ว
1.1 การเลี้ยงลูกไก่ เป็นวิธีแรกๆที่ชาวเกษตรกรเลือกทำกันเพราะเป็นวิธีที่ลงทุนน้อย แต่เชื่อเถอะครับถ้าหากว่าคุณยังไม่มีความรู้มากเพียงพอละก็ วิธีนี้เป็นวิธีที่เสี่ยงอย่างมาก ไหนจะลูกไก่ตาย ไหนจะโรคระบาด ซึ่งเกิดได้ง่ายในลูกไก่ซะด้วย ต้นทุนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 30-35 บาทต่อตัว
1.2 การเลี้ยงไก่วัยสาว ถ้าหากเกษตรกรมีเงินลงทุนที่นาพอละก็ผมขอแนะนำวิธีนี้ครับเพราะความเสี่ยงต่ำ ให้ผลตอบแทนเร็ว  ต้นทุนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 80-100 บาทต่อตัวครับ


ไก่
2. โรงเรือน ในการสร้างโรงเรือนเลี้ยงแม่ไก่ไข่ ขนาดกลางนั้นใช้ต้นทุนอยู่ที่ประมาณ 50,000-200,000 บาท แต่ถ้าหากเกษตรกรยังไม่กล้าที่จะลงทุนในจำนวนเงินขนาดนี้ ก็อาจใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการทำโรงเรือนเลี้ยงไก่ก็ได้ แต่ต้องมั่นใจว่าถูกสุขลักษณะด้วยนะครับ

3. อุปกรณ์การเลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นชั้นฟักไข่ รังไข่ รางน้ำ รางอาหาร ต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ 30,000-50,000 เกษตรกรสามารถใช้สิ่งของเหลือใช้ในครัวเรือนแทนก็ได้ครับ จะช่วยลดต้นทุนได้มากพอสมควร



การเลี้ยงไก่
4. อาหารไก่ ไข่ไข่จำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่มากเพียงพอที่จะทำให้ออกไข่ได้อย่างสมบูรณ์ ราคาค่าอาหารไก่สำเร็จรูปอยู่ที่ประมาณ กก. 5 บาท


5. สุดท้าย ค่ายใช้จ่ายจิปาถะ ซึ่งจะเป็นค่าใช้จ่ายเล็กๆน้อย แต่เลี่ยงไม่ได้ เช่นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ายารักษาโรค  ยังไงก็อย่าให้ขาดละครับเตรียมไว้เผื่อเหลือเผื่อขาดครับ