เทคนิคการสังเกตและตัดแต่งต้น
จากขั้นตอนการเพาะชำนั้น จะเหลือต้นมะละกอ 3 ต้นต่อถุง หรือ ต่อหลุมปลูก เราสามารถเริ่มตัดต้นทิ้งให้เหลือแต่ต้นสมบูรณ์เพศ(กะเทย) ได้โดยให้สังเกตเมื่อมะละกอเริ่มออกดอก ตัดเหลือต้นสมบูรณ์เพศ(กะเทย)ไว้เพียงต้นเดียวจะทำให้ได้ผลผลิตที่ดี และได้ราคา
การป้องกันศัตรูมะละกอ
เพลี้ยไฟ เพลี้ยไฟเป็นแมลงขนาดเล็กมาก มี 6 ขา มีลำตัวแคบยาว สีเหลืองซีด เมื่อโตเต็มที่มีปีกยาวบนหลังจึงบินได้และปลิวไปตามลม มักพบระบาดในช่วงปลายฤดูฝนถึงต้นฤดูแลง อาการที่พบใต้ผิวใบจะแห้งเหี่ยว โดยเฉพาะเส้นกลางใบหรือขอบใบแห้งเป็นสีน้ำตาลถาเปนกับผลทำใหผลกรานเปนสีน้ำตาล ในฤดูฝนจะไม่ค่อยพบ และหากใช้ไบโอเฟอร์ทิลตามคำแนะนำก็จะพบได้น้อย ถ้าพบอาจใช้น้ำฉีดพ่นแรง ๆ ให้หล่นไป หรือหากมีการระบาดมากในช่วงที่อากาศแล้งจัดใช้ ชีวภัณฑ์ กำจัดแมลง เมทา-แม็ก ฉีดพ่น 2-3 ครั้งทุก 5-7 วัน
ไรแดง เป็นสัตว์ขนาดเล็กมี 8 ขา จะทำให้ผิวใบจะไม่เขียวปกติเกิดเป็นฝ้าด่าง ถ้าดูใกล้ ๆ จะพบตัวไรสีคล้ำ ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก เดินกระจายไม่ว่องไว หรืออาจเห็นคราบไรสีขาวกระจายอยู่ทั่วไป แมลงศัตรูธรรมชาติ คือ ด้วงเต่าเล็ก ตัวดำลำตัวรี ตัวุอ่อนด้วงเต่าก็กินไรได้ดี หากใช้ไบโอเฟอร์ทิลตามคำแนะนำ จะป้องกันการระบาดของไรได้ดี หากช่วงใดมีอากาศร้อน อบอ้าว จะพบว่ามีไรระบาดมากให้ใช้ชีวภัณฑ์ กำจัดแมลง เมทา-แม็ก ฉีดพ่น 2-3 ครั้งทุก 5-7 วัน ในอัตรา 100 กรัมผสมน้ำ 20 ลิตร เพื่อตัดวงจรของการระบาด
แมลงวันทอง แมลงวันทองเป็นแมลงที่ทำลายผลไม้หลายชนิด โดยจะวางไข่ที่ผลขณะแก ทำให้หนอนที่ฟักเป็นตัว ทำลายเนื้อของผลเสียหาย เมื่ออยู่บนต้นหรือในขณะบ่มผล แมลงวันทองจะระบาดในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่ดินชื้นตัวเต็มวัยจะขึ้นจากดินมาผสมพันธุ์กัน ช่วงที่ทำความเสียหายให้กับเกษตรกรมากที่สุดคือ ระยะที่เป็นตัวหนอน การป้องกัน คือ เก็บผลมีสีเหลืองที่ผิว 5% ของพื้นที่ผิวผล ไม่ปล่อยให้สุกคาต้น ควรป้องกันก่อนเข้าทำลายโดยใช้ไบโอเฟอร์ทิล เป็นประจำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด จะช่วยขับไล่ป้องกันการเข้าทำลายได้ดี และหากมีการระบาดเป็นประจำทุก ๆ ปีให้ใช้เหยื่อโปรตีนผสม เมทา-แม็ก คลุกเหยื่อล่อ วางไว้เป็นจุด ๆ รอบบริเวณที่มีการระบาด เพื่อล่อให้แมลงมาตอม และสัมผัส เมทา-แม็ก แมลงที่มาสัมผัส จะติดโรค หยุดการเข้าทำลายผลผลิต เคลื่อนที่ช้าลงและตายภายใน 2-3 วัน และให้ป้องกันผลด้วยการห่อกระดาษหนังสือพิมพ์ หรือเก็บผลที่เน่าเสีย เนื่องจากแมลงและโรคออกจากแปลงปลูกฝังดินลึก ๆ หรือเผาไฟ
แมลงวันผลไม้(แมลงวันทอง)ตายโดย เชื้อ "เมทา-แม็ก"
เพลี้ยอ่อน เพลี้ยอ่อน เป็นแมลงดูดที่สำคัญชนิดหนึ่งในมะละกอ สันนิษฐานกันว่าเป็นตัวถ่ายทอดโรคใบด่างเหลืองที่เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งโรคนี้พบวากำลังเปนกับมะละกอในแหลงผลิตทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางควรป้องกันก่อนเข้าทำลายโดยใช้ไบโอเฟอร์ทิล เป็นประจำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด และหากมีการระบาดมากให้ใช้ยากำจัด จำพวก ปิโตรเลียมสเปรย์ออล์ย ผสมกับ ชีวภัณฑ์ กำจัดแมลง เมทา-แม็ก ฉีดพ่น
โรคใบด่างของมะละกอ(ใบจุดวงแหวน) อาการที่เกิดกับต้นกล้ามะละกอจะแสดงอาการใบด่างผิดปกติ ใบมีขนาดเล็กลง สีซีดต่อมาใบร่วงและทำให้ต้นตาย สำหรับต้นที่โตแล้ว จะแสดงอาการโดยใบยอดเหลืองซีด ใบมีขนาดเล็กลง ก้านใบสั้น ใบด่างสีเหลืองสลับเขียว ส่วนต้น หรือ ก้านใบจะพบจุดหรือขีดสีเขม มะละกอจะให้ผลผลิตน้อยหรือไม่ได้ผลเลย สาเหตุเกิดจากเชื้อ ปาปายาริงสปอทไวรัส ซึ่งเชื้อนี้บางครั้งมีการแฝงอยู่ในมะละกอตั้งแต่เริ่มเพาะปลูก และจะแสดงอาการรุนแรงเมื่อต้นมะละกออ่อนแอ
การป้องกัน
1. เลือกเมล็ดพันธุ์ที่นำมาปลูกจากแหล่งที่ไว้ใจได้ ไม่มีเชื้อปนเปื้อน
2. บำรุงต้นด้วย ไบโอเฟอร์ทิล และปุ๋ยตามคำแนะนำ จะทำให้ต้นแข็งแรง สามารถแบกผลผลิตได้มาก และมีความต้านทานโรคได้ดีขึ้น
3. ถ้าพบวาเปนโรคตองโคนทิ้งและไมนำมีดที่มีเชื้อไปตัดตนดีเพราะจะทำใหเชื้อแพรกระจายไปไดและ ฉีดพ่นยาป้องกันเพลี้ยอ่อนหรือเพลี้ยอื่นๆ บางชนิด เช่น เพลี้ยไก่ฟ้า ไม่ให้มาดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นมะละกอที่ปกติ นอกจากนี้อาจใช้พันธุ์ต้านทานปลูกก็ได้
โรคราแป้ง อาการปรากฏบนใบและบนผลที่มีสีเขียว เกิดคราบฝุ่นของเชื้อราเป็นขุยสีขาว ๆ คล้ายแป้งที่บนใบ ก้านใบ และผล ใบอ่อนที่ถูกทำลายจะร่วงหรือใบเสียรูป ยอดชะงักการเจริญเติบโต ผลอ่อนมากๆ ถ้าเป็นโรคผลจะร่วง แต่ถ้าเป็นกับผลโตผลจะไม่ร่วงยังเจริญเติบโตได้ แต่ผิวจะกร้าน และขรุขระไม่น่าดู ส่วนที่ก้านนั้นมีสีเทาจาง ๆ แผลจะมีขอบเขตไม่แน่นอน
สาเหตุของโรค โรคนี้มีสาเหตุเกิดจากเชื้อรา Oidium sp. โดยเชื้อราจะสร้างสปอร์ปลิวไปตามลมแพร่ระบาดไปได้ไกล ๆ โรคนี้มักจะเกิดในปลายฤดูฝนหรือต้นฤดูหนาว
การป้องกันกำจัดควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรครา เช่น เมธาแล็กซิลหรือเบโนมีล หรือไดโนแคพ
โรคโคนเน่า อาการของโรคพบทั้งที่ราก และโคนลำต้นอาการเน่าที่โคนต้นจะเน่าบริเวณระดับดิน แผลจะลุกลามมากขึ้นและจะปรากฏอาการที่ใบทำให้ใบเหี่ยวและเหลืองยืนต้นตายหรือล้มได้ง่ายที่สุดเพราะเมื่อโคนลำต้นเน่าก็หมายถึงภายในเนื้อเยื่อจะเน่าเละหมด ไม่มีส่วนแข็งแรงที่จะทรงตัวอยู่ได้
สาเหตุของโรค โรคโคนเน่าเกิดจากเชื้อ Phytophthora plamivora พบเป็นมากในฤดูฝนเชื้อราเป็นพวกเชื้อราในดิน เมื่อมะละกอเจริญเติบโตเชื้อรานี้จะแพร่ระบาดได้รวดเร็วเมื่อมีความชื้นสูงโดยสปอร์จะไหลไปกับน้ำเข้าทำลายต้นอื่น
1. การป้องกันและกำจัดถ้าหากมีน้ำท่วมขังชื้นแฉะจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคนี้ได้ง่ายการจัดระบบปลูกให้มีการระบายน้ำที่ดีจึงเป็นสิ่งจำเป็น ฉะนั้น เมื่อปรากฏอาการของโรคควรถอน ขุดทำลาย ถ้าตรวจพบว่าโรคนี้เริ่มเข้าทำลายก็ควรรดด้วยเมื่อเริ่มพบการระบาด ให้รีบใช้ ไตรโคแม็ก ผสมน้ำราดบริเวณโคนต้นตามอัตราที่ระบุ ฉีดพ่นทางใบทันที 2 ครั้ง ห่างกัน 4-7 วัน
โรคแอนแทรคโนส อาการที่ผลอ่อนจะเกิดจุดและเน่าเสียหาย ส่วนที่ผลแก่จะเกิดจุดแผลสีน้ำตาลลุกลามเป็นวงกลม เมื่อผลใกล้สุกมีความหวานมากขึ้นและเนื้อเริ่มนิ่มอาการของโรคจะยิ่งลุกลามรวดเร็วและเป็นรุนแรง ลักษณะอาการที่เห็นได้ชัดคือแผลกลมนุ่ม และเป็นวงซ้อน ๆ กัน เป็นได้ทั้งบนต้นและในระหว่างบ่มตลอดจนในช่วงวางขายในตลาด
สาเหตุของโรค เกิดจาก เชื้อรา Colletotrichum gloeosporieides (Glomerella cingulata) เชื้อราชนิดนี้ ทำลายทั้งใบอ่อนและผลความสำคัญและพบระบาดเสมออยูที่ผลสปอรของเชื้อราดังกลาวจะแพรระบาดไปยังผลมะละกอในต้นเดียวกันและตนอื่นๆตลอดจนในภาชนะบรรจุผลมะละกอได้โดยง่าย โดยอาศัยอาการสัมผัสติดไปหรือลมเป็นพาหนะนำเชื้อโรคไป
การป้องกันและกำจัด
1. เมื่อใช้ไบโอเฟอร์ทิลตามคำแนะนำเป็นประจำเปอร์เซ็นต์การเข้าทำลายจะน้อยมากจากข้อมูลที่เกษตรกรได้ใช้ พบว่าปัญหาของโรคลดลงไปมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของผลผลิต ช่วยประหยัดต้นทุนสารเคมี
2. เมื่อเริ่มพบการระบาดให้รีบใช้ไตรโคแม็ก ผสมน้ำตามอัตราที่ระบุ ฉีดพ่นทางใบทันที 2 ครั้ง ห่างกัน 4-7 วัน
3. แต่หากมีโรคระบาดในแปลงปลูกขั้นรุนแรงก็พ่นด้วยสารเคมี เช่น เบโนมีล 10 กรัมตอน้ำ 20 ลิตร แมนโคเซป หรือ แคปแทน
ข้อเปรียบเทียบหลังจากเกษตรกรใช้ผลิตภัณฑ์ ฯลฯ ตามคำแนะนำเป็นประจำ
1. มะละกอติดดอกง่าย ขั้วดอก,ผล เหนียว ต้นไม่โทรมแม้แบกผลผลิตมาก
2. แมลงศัตรูพืชที่เข้ามารบกวนลดลงอย่างเห็นได้ชัดโดยเฉพาะจำพวกผีเสื้อกลางคืนซึ่งเป็นตัวแม่ของหนอนชนิดต่างๆรวมถึงแมลงวันทองและด้วงกัดกินใบทำให้ประหยัดต้นทุนยากำจัดศัตรูพืชและลดความเสียหายได้ดีกว่า (ในพื้นที่ที่มีการระบาดมากหากใช้ไบโอเฟอร์ทิลฉีดร่วมกับยากำจัดศัตรูพืช ก็จะทำให้สามารถคุมและป้องกันการเข้าทำลายได้นานขึ้น)
3. อายุการให้ผลผลิตของต้นจะมากกว่าแปลงที่ไม่ได้ใช้อย่างเห็นได้ชัด
4. เนื้อแน่นสามารถลดการต้นทุนจากการใช้ปุ๋ยเคมีจากเดิมลงได้ประมาณ 20-50%
5. สุขภาพผู้ปลูกดีขึ้นเนื่องจากสัมผัสหรือจับต้องสารเคมีน้อยลง
6. โรคเชื้อราที่เข้าทำลายต้นลดลง
7. หลังจากใช้เป็นประจำการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ “ยักษ์เขียว” ร่วมด้วยเป็นประจำ จะทำให้ต้นทุนปุ๋ยและสารทางดินต่อชุดการผลิต ลดลงได้ประมาณ 30-50 % โดยที่ผลผลิตที่ได้ยังเป็นปกติหรือดีกว่าเดิม และสังเกตได้ว่าสารอินทรีย์ในเนื้อปุ๋ยทำให้สภาพดินดีขึ้นดินโปร่งอุ้มน้ำได้ดีและพืชตอบสนองต่อการให้ปุ๋ยทางดินดีกว่าเดิม ในระยะยาวปัญหาเรื่องโรคทางดินน้อยกว่าแปลงข้างเคียงที่ไม่ได้ใช้ ผลในทางอ้อม เนื่องจากยักษ์เขียวเป็นสารอินทรีย์แท้จึงกระตุ้นจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ให้ย่อยปุ๋ย(เคมี)ที่ตกค้างในดินทำให้รากพืชสามารถดูดซึมกลับไปใช้ได้ธาตุอาหารในดินจะสมดุลมากกว่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น