การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์แบบครัวเรือน
ประโยชน์การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์
1. ใช้พื้นที่น้อย สามารถเลี้ยงได้ทุกที่
2. ใช้เวลาเลี้ยงสั้น รุ่นละประมาณ 90 - 120 วัน
3. ปลาดุกเป็นปลาที่อดทนต่อสภาพน้ำได้ดี
4. สามารถเลี้ยง ดูแลรักษาได้สะดวก บริโภคในครัวเรือนและส่วนที่เหลือนำไปจำหน่ายได้
การเลือกสถานที่สร้างบ่อ
1. การเลือกสถานที่สร้างบ่อ
- บ่อควรอยู่ใกล้บ้าน หรือที่สามารถดูแลได้สะดวก
- ควรอยู่ในร่มหรือมีหลังคา เพราะปลาดุกไม่ชอบแสงแดดจัด และป้องกันเศษใบไม้ลงสู่บ่อจะทำให้น้ำเสียได้
- มีแหล่งน้ำสำหรับเปลี่ยนถ่ายน้ำได้สะดวกพอสมควร
2. การสร้างบ่อ
- บ่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร สูงประมาณ 40 ซม.
- ควรมี 2 บ่อ เพื่อใช้คัดขนาดปลาและสำรองน้ำไว้ถ่ายเท
- ผนังและพื้นบ่อควรใส่สารกันรั่วซึม
- มีท่อระบายน้ำเพื่อช่วยในการถ่ายเทน้ำ
การเตรียมบ่อก่อนการเลี้ยง
1. การเตรียมบ่อก่อนการเลี้ยงปลา ให้ตัดต้นกล้วยเป็นท่อใส่ลงไปในบ่อ เติมน้ำให้ท่วม แช่ไว้ 3 - 5 วัน เปลี่ยนต้นกล้วยแล้วแช่ไว้อี่ครั้งเพื่อให้หมดฤทธิ์ปูนขาว แล้วล้างบ่อให้สะอาด
2. ตรวจสอบสภาพน้ำให้เป็นกลางหมดฤทธิ์ของปูน ถ้ามีตะใคร่น้ำเกาะติดที่ข้างบ่อปูนถึงจะดี
3. น้ำที่จะใช้เลี้ยงคือน้ำจากคลอง หนอง บึง ต้องตรวจสอบว่ามีศัตรูปลาเข้ามาในบ่อด้วยหรือเปล่า
4. น้ำฝน น้ำบาดาล น้ำประปา ควรพักน้ำไว้ประมาณ 3 - 5 วัน ก่อนนำมาใช้ได้
อัตราการปล่อยปลาและเลี้ยง
1. ปลาเริ่มเลี้ยงความยาว 5 -7 ซม.
2. อัตราการปล่อยลงเลี้ยงในถังซีเมนต์กลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร ถึก 40 ซม. ประมาณ 80 - 100 ตัว
3. ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยงควรใส่เกลือแกลงประมาณ 2 - 3 ช้อนแกง เพื่อช่วยปรับสภาพน้ำ
4. ระดับน้ำที่ปล่อยปลาครั้งแรก 10 -15 ซม.
5. การปล่อยปลาควรปล่อยในตอนเช้า
6. ควรนำถุงปลาที่จะปล่อยลงเลี้ยงแช่ในบ่อประมาณ 30 นาที เพื่อให้อุณหภูมิน้ำในถุงปลาและน้ำในบ่อไม่แตกต่างกันป้องกันปลาตายได้
7. ควรมีวัสดุให้ปลาหลบซ่อน เช่นท่อพีวีซีตัดเป็นท่อนหรือกระบอกไม้ไผ่ เพราะปลาตัวใหญ่จะกวนปลาตัวเล็ก
8. ควรมีการคัดขนาดปลา เมื่อมีอายุประมาณ 15 -20 วัน โดยนำตัวเล็กแยกไว้อีกบ่อหนึ่ง
9. ควรมีวัสดุช่วยบังแสงแดด
การถ่ายน้ำ
1. เริ่มเลี้ยงระดับน้ำลึก 10 - 15 ซม.
2. เพิ่มระดับน้ำอีก 5 - 10 ซม. เมื่อเลี้ยงไปได้ 10 - 15 วัน
3. ระดับน้ำสูงสุดไม่เกิน 40 ซม.
4. ถ่ายเทน้ำทุก 5 -7 วัน
5. ถ่ายเทน้ำแต่ละครั้งไม่ควรถ่ายจนหมด ถ่ายน้ำประมาณ 1 ส่วน 3 ของน้ำในบ่อ
6. ขณะถ่ายเทน้ำไม่ควรรบกวนให้ปลาดุกตกใจเพราะปลาจะไม่กินอาหาร 2-3 วัน
อาหารและการให้อาหาร
1. อาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดลอยน้ำ
- ปล่อยปลาขนาด 5-7 ซม. ให้อาหารปลาดุกเล็ก
- ปลาขนาด 7 ซม. ขึ้นไป ให้อาหารปลาดุกรุ่น
2. อาหารสด เช่น เศษปลา ไส้ไก่ ปลวก โครงไก่ การให้อาหารควรให้อาหารวันละประมาณ 3 ครั้ง ในช่วงเช้า-เย็น ให้อาหารประมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวปลาต่อวัน (หรือให้กินจนอิ่ม)
การป้องกันและรักษาโรคปลาดุก
1. ไม่ปล่อยปลาหนาแน่นเกินไป
2. ไม่ให้อาหารมากจนเกินไป
3. รักษาคุณภาพน้ำให้เหมาะสม
4. ถ่ายเทน้ำทุก 5-7 วัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น