วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2558

                                      การปลูกบวบ

เงินลงทุน 
ประมาณ 3,500 บาทขึ้นไป/ไร่ (ไม่รวมค่าที่ดิน) 
(ค่าเมล็ดพันธุ์ ประมาณ 1,200 บาท/ไร่ ค่าทำร้านให้บวบเลื้อยเกาะขึ้นอยู่กับวัสดุในท้องถิ่นนั้น ค่าปุ๋ยประมาณ 2,000-3,000 บาท/ไร่)
รายได้
ประมาณ 40,000 บาทขึ้นไป/8 - 10 ตัน/ไร่
วัสดุ/อุปกรณ์
เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย จอบ เสียม วัสดุทำร้าน (ขึ้นอยู่กับท้องถิ่นนั้น ๆ)
แหล่งจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์
ร้านจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับการเกษตรทั่วไป หรือบริษัทจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืชต่าง ๆ
วิธีดำเนินการ


1.   ขุดดินลึก 20-25 เซนติเมตร ตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก คลุกเคล้าลงไปในดิน 30 - 40 กิโลกรัม/ไร่
2.   พรวนดินให้ละเอียด ขุดหลุมกว้างประมาณ 1 หน้าจอบ ลึก 2 - 4 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 75 เซนติเมตร ระหว่างแถว 100  เซนติเมตร
3.   โรยปุ๋ยสูตร 13-13-21 รอบก้นหลุม ประมาณ 1 กำมือ กลบดินเล็กน้อย หยอดเมล็ดพันธุ์ลงไปหลุมละ  3 - 4 เมล็ด    กลบด้วยดินร่วนหรือปุ๋ยคอก หนา 1 เซนติเมตร รดน้ำให้ชุ่ม แล้วคลุมด้วยฟางแห้งหรือหญ้าแห้ง หลังจากต้นบวบงอกมาได้ 10 - 15 วัน ให้ถอนต้นที่ไม่แข็งแรงทิ้ง เหลือต้นดีไว้หลุมละ 2 ต้น

การรดน้ำ
1.   รดน้ำทุกวัน ๆ ละ 1 ครั้ง (เช้าหรือเย็น) หากเป็นฤดูแล้ง ควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง  เช้า - เย็น หลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์ บวบจะเริ่มเลื้อย ให้ทำ “ร้าน” เพื่อให้บวบเลื้อยเกาะ โดยนำวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นนั้นๆ เช่น ไม้รวกปักบริเวณต้นบวบแต่ละต้น และปลายไม้ด้านบนให้ใช้ไม้หรือลวดผูกยึดติดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยม 
2.   เมื่อบวบอายุได้ 25 - 30 วัน ให้พรวนดินรอบโคนต้นห่างออกมาประมาณ 10 เซนติเมตร เพื่อใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ประมาณ 1 กำมือ และรดน้ำตาม
3.   หลังจากปลูกไปได้ประมาณ 45 วัน บวบจะเริ่มออกดอก และเริ่มติดผล ควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ประมาณ 1 กำมือ รอบโคนต้น ต่อเนื่องกันไปสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อบำรุงต้นบวบ
4.   หลังติดผลประมาณ 7 วัน หรืออายุ 50 -60 วัน จึงเก็บเกี่ยวผลได้ โดยเก็บขณะที่ผลยังอ่อนอยู่ หากต้องการเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ ให้ปล่อยผลบวบไว้กับต้นจนแก่จัด แล้วจึงแกะเอาเมล็ดไปผึ่งแดดจนแห้ง เก็บใส่ภาชนะให้มิดชิดจนกว่าจะนำไปปลูก
ตลาด/แหล่งจำหน่าย
ตลาดสดทั่วไป หรือขายส่งพ่อค้า  แม่ค้า




1.   บวบมีพันธุ์หลายพันธุ์ เช่น บวบเหลี่ยม บวบหอม บวบงู แต่ที่นิยมรับประทานโดยทั่วไป ได้แก่ บวบเหลี่ยม บวบหอม 
2.   บวบเป็นพืชที่ทนต่อโรคและแมลง จึงไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีนัก หากจะมีบ้างก็อาจจะเป็น “หนอนม้วนใบ” หากพบก็ให้ใช้สารเคมีฉีดพ่นกำจัดเสีย

การปลูกมะละกอ

การเตรียมต้นกล้า
มะละกอไม่เหมาะที่จะหยอดเมล็ดลงแปลงปลูกโดยตรงเนื่องจากเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาในขั้นแรกมากเพราะพื้นที่กว้างขวางและต้นกล้าที่งอกใหม่ๆต้องการเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิดดังนั้น การเตรียมต้นกล้ามะละกอให้แข็งแรงก่อนแล้วจึงย้ายปลูกลงแปลงปลูกจึงเป็นวิธีที่เหมาะสมกว่าการหยอดเมล็ดลงแปลงปลูกโดยตรงการเตรียมต้นกล้ามะละกออาจใช้วิธีต่างๆแต่เทคนิคที่ได้ผลดีทำให้เมล็ดพันธุ์เจริญเติบโตพร้อมเพรียงกันใช้สำหรับเพาะปริมาณมาก ๆ  มีขั้นตอน ดังนี้คือ
1. เตรียมดินผสมที่จะใช้เพาะเมล็ดให้ร่วนโปร่ง โดยผสมดิน 3 ส่วน ปุ๋ย(ยักษ์เขียว)หรือปุ๋ยคอก 1 ส่วน และ อินทรียวัตถุ(ขุยมะพร้าว) 1 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน หากใช้ปุ๋ยคอกนั้นควรเป็นปุ๋ยคอกเก่าที่สลายตัวแล้ว และไม่ร้อน ส่วนอินทรียวัตถุอาจใช้เศษหญ้าสับ แกลบหรือถ่านหรือเปลือกถั่วแทนก็ได้แล้วแต่จะหาอะไรได้ในท้องถิ่น
2. นำดินที่ผสมแล้วใส่ถุงขนาด 5 x 8 นิ้ว ที่เจาะรูระบายน้ำ เรียบร้อยแล้วประมาณ 4 รู ตามจำนวนหลุมปลูกในพื้นที่ซึ่งเราคำนวณ
3. เพาะเมล็ดมะละกอ  ให้นำเมล็ดพันธุ์มะละกอที่เตรียมไว้แช่ด้วยน้ำอุ่นประมาณ 40 องศาเซลเซียส  ทิ้งไว้ 1-2 วัน จนเมล็ดจมอยู่ในน้ำ แล้วแยกเมล็ดเสียที่ลอยน้ำทิ้ง นำเมล็ดพันธุ์ที่จมน้ำมาคลุกด้วยชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดรา ไตรโค-แม็ก อัตรา 200 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 ลิตร แล้วห่อด้วยผ้าสำลีหรือผ้าขาวม้าเปียก คลุมด้วยกระสอบป่าน หรือบ่มไว้ในถาดหรือภาชนะตามสะดวก เปิดกระสอบรดน้ำวันละครั้งให้พอชุ่ม(อย่าให้แฉะหรือน้ำขัง)หลังจากนั้นประมาณ 4-5 วัน(เมล็ดพันธุ์ที่ดีจะงอกเร็ว) รากจะเริ่มแทงออกจากเปลือก ให้คีบเมล็ดที่รากยาวประมาณ 1-3 มิลลิเมตร มาหยอดลงในถุงชำ โดยให้ฝังลงในดินให้ลึกประมาณครึ่งเซนติเมตร เกลี่ยดินปิด ถุงละ 5 เมล็ด ส่วนเมล็ดที่เหลือซึ่งรากยังไม่งอก ให้ห่มผ้าและรดน้ำเหมือนเดิม เปิดผ้าวันเว้นวัน หรือ ทุกวัน เพื่อคีบเมล็ดมาเพาะตามขั้นตอนด้านบน จนหมด
4. นำถุงชำที่หยอดเมล็ดตามขั้นตอนที่ 3 ไปตั้งในโรงเรือนกลางแจ้งที่เตรียมไว้ ตั้งเรียงไว้กลางแจ้งในบริเวณที่สามารถให้น้ำได้อย่างสม่ำเสมอทุกวัน รดน้ำให้ชุ่มทุกเช้าเย็น หลังปลูก
5. เมื่อต้นมะละกอมีใบจริง 2-3 ใบ ให้เลือกกล้าต้นที่แข็งแรงเอาไว้ถอนต้นที่อ่อนแอออก เหลือเพียง 3 ต้น  หลังจากนั้น ให้ใช้ชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดรา ไตรโค-แม็ก ฉีดพ่นทุก ๆ 10-14 วัน สลับกับการใช้ชีวภัณฑ์ปองกันกำจัดแมลง เมทา-แม็ก ผสมยาจับใบ ฉีดพ่นทุก ๆ 5 วัน ครั้งแรกเมื่อตนกลาเริ่มงอกและหลังจากนั้น ช่วงระยะนี้ให้เพิ่มความแข็งแรงให้ต้นกล้าทำให้เจริญเติบโตได้เร็วขึ้นโดยให้ผสม ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 30 ซีซีต่อน้ำ20 ลิตร  ฉีดพ่นหรือผสมน้ำรดทุก ๆ 5-7 วัน จนกว่าจะย้ายกล้าลงแปลงปลูก
6. ย้ายกล้าปลูกหลังต้นมีอายุได้ 30-45 วัน หรือมีใบแท้ประมาณ 6-8 ใบ
การเลือกพื้นที่ปลูก
มะละกอเป็นไม้ผลที่ชอบดินร่วนปนดินทราย ดินเหนียวปนดินร่วน หรือดินร่วนที่มีการระบายน้ำดี มีอินทรีย์วัตถุมาก ไม่ชอบน้ำขัง และควรมีหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร ช่วงระดับความเป็นกรด-ด่าง (pH) ที่เหมาะสมคือ 5.5-7 มะละกอไม่ทนดินเกลือและไม่ทนลม แหล่งปลูกจึงควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีลมแรง ถ้าหลีกเลี่ยงในการเลือกพื้นที่ที่มีลมแรงไม่ได้ควรทำแนวไม้กันลมโดยรอบด้วย  ระบบไร่ ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 3 x 3 เมตร หรือ 2.5 x 3 เมตร หรือ2.5x2.5 เมตรสำหรับระบบร่องน้ำ

การเตรียมแปลงปลูก
1. ไถพื้นที่ปราบวัชพืช 2 ครั้ง ๆ แรกด้วยไถ 3 ผาน หรือ 4 ผาน ครั้งที่ 2 ให้ย่อยดินให้เล็กด้วยผาน 7
2. วัดระยะแปลงปลูกตามความต้องการ ควรปักหลักเล็ก ๆ ห่างจากหลักหลุมปลูกอีก 2 หลัก โดยปักให้ห่างข้างละ 50 เซนติเมตร
3. ขุดหลุมปลูกเป็นรูปสี่เหลี่ยมให้ขอบหลุมห่างจากหลักกลางประมาณ 25 ซม. และขุดลึก 50 ซม. เอาดินขึ้นไว้บนปากหลุมอย่าให้โดนหลักเล็กทั้ง 2 ซึ่งจะเป็นหลักบังคับระยะปลูก
4. ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียว สูตร 2 (แถบเขียว) อัตรา 0.5-1 กิโลกรัมต่อหลุม และคลุกเคล้าดินกับปุ๋ยให้เข้ากันดี แล้วใช้จอบกลบดินลงหลุมให้เสมอปากหลุม
การให้ปุ๋ย
ปุ๋ยมะละกอที่เตรียมไว้สำหรับรองก้นหลุมนั้น เพียงพอสำหรับในช่วงแรก แต่หลังจากลงกล้าปลูกประมาณ 21-30 วัน จึงเริ่มให้ปุ๋ยเสริมเพิ่มขึ้น เพื่อให้มะละกอมีการเจริญเติบโตเต็มที่ มีลำต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง โดยแบ่งใส่ปุ๋ยดังนี้
ทางดิน 
1. ระยะต้นเล็ก ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียว สูตร 2 (แถบเขียว) จะใส่หลังจากปลูกแล้ว 2-3 อาทิตย์ โดยแบ่งใส่ ครั้งละ 1-2 กำมือ(150-300 กรัม) ต่อต้น ทุก ๆ 20-30 วัน จะทำให้มะละกอเจริญเติบโตได้ดี  ให้ผลผลิตเร็วและให้ผลผลิตได้นานกว่า
2. เมื่อเริ่มให้ผลผลิต เมื่อมะละกอติดผลแล้วใช้ปุ๋ยทางดินสูตร 15-15-15 หรือ  13-13-21 ในอัตรา 100-150 กรัม(1 กำมือ) ต่อต้น ร่วมกับ ปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียว สูตร 2 (แถบเขียว) ครั้งละประมาณ 0.5-1 กิโลกรัมต่อต้น  ทุก ๆ 20-30 วัน จะทำให้ผลผลิตน้ำหนักดีและรสชาติดี เป็นที่ต้องการของตลาด
ทางใบ
1. หลังจากลงย้ายปลูก ใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)  ฉีดพ่นในอัตรา  50  ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร  ทุก ๆ 7-10 วัน ทำให้ต้นเจริญเติบโตได้ดี  ใบเขียวทน  แข็งแรง ทนต่อโรคและป้องกันแมลง(ช่วยลดปัญหาเรื่องเพลี้ยอ่อนได้) และศัตรูพืชต่าง ๆ เข้าทำลาย
2. เมื่อมะละกอเริ่มให้ผลผลิต(ตั้งแต่เริ่มติดดอกจนถึงเก็บเกี่ยวทุกรุ่น) ใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)ฉีดพ่นช่วงตั้งแต่มะละกอเริ่มแทงช่อดอก อัตรา  30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 5 วัน จนติดผล  จะทำให้มะละกอติดดอกและผลมาก ขั้วเหนียว ให้ผลผลิตได้ปริมาณมากและมีคุณภาพดี  เมื่อติดผลแล้ว ให้สลับใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรเร่งขนาดผล) อัตรรา 30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 7-10 วัน เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพเนื้อแน่น ผลใหญ่ ได้น้ำหนัก
3. เมื่อมะละกอติดดอกและมีลูกคาบเกี่ยวอยู่ในช่วงเดียวกัน ให้ใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)และ(สูตรเร่งขนาดผล) ฉีดพ่นสลับกัน ทุก ๆ 7-10 วัน อัตราการใช้ตามข้อ 2  จะทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูง ต้นไม่โทรม เก็บเกี่ยวได้นานหลายรอบ


การออกดอกติดผล
มะละกอเป็นพืชที่มีดอก 3 ชนิดอยู่คนละต้น คือ
1. ต้นตัวผู้ จะมีดอกตัวผู้ล้วนเป็นจำนวนมากอยู่บนก้านช่อยาวที่แตกแขนง ถ้าพบควรตัดทิ้งเพราะไม่ให้ผล หรือให้ผลได้ก็ไม่สามารถจำหน่ายได้คุ้มค่าเท่าต้นตัวเมีย หรือต้นสมบูรณ์เพศ
2. ต้นตัวเมีย จะมีแต่ดอกเพศเมียเท่านั้น ดอกจะออกจากส่วนมุมด้านใบติดลำต้นเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ รังไข่มีรูปร่างป้อม ให้ผลค่อนข้างกลม ช่องว่างในผลมีมากจึงไม่ค่อยนิยมเช่นกัน
3. ต้นสมบูรณ์เพศ จะมีช่อดอกติดกันเป็นกลุ่ม ต้นสมบูรณ์เพศจะมีดอกสมบูรณ์เพศและดอกตัวผู้อยู่ในช่อดอกเดียวกัน และดอกสมบูรณ์เพศจะมี 3 ชนิดตามตำแหน่งของเกสรตัวผู้ ดอกสมบูรณ์เพศชนิดธรรมดา (Elongata) ทำให้ผลมีรูปร่างทรงกระบอกสวย เป็นที่นิยมของตลาด ผลที่เกิดจากดอกสมบูรณ์เพศที่ดอกตัวผู้ติดอยู่กับรังไข่ (Intermediate) ทำให้ผลบิดเบี้ยว และดอกสมบูรณ์เพศที่ทำให้ผลเป็นพลูลึก (Pantandria) ผลจากดอกสมบูรณ์เพศสองชนิดหลังนี้ ไม่เป็นที่ต้องการของตลาดเกษตรกรผู้ปลูก ต้องหมั่นคอยตรวจดูและปลิดออกตั้งแต่ผลยังเล็กๆ นอกจากนั้นแม้ว่ามีดอกสมบูรณ์เพศชนิดธรรมดา แต่ถ้าช่อดอกแตกแขนงและติดผลดก ผลจะเบียดกันมาก ทำให้ผลเล็กได้ จึงขอแนะนำให้เด็ดผลเล็กที่อยู่ที่แขนงข้างออก ให้เอาไว้แต่ผลที่ปลายช่อดอกจึงจะได้ผลใหญ่สม่ำเสมอกันทั้งต้น ถ้าทำทั้งสวนจะทำให้มีขนาดผลเกินมาตรฐาน จะสามารถขายง่ายและป้องกันการโค่นล้มได้อีกด้วย



เทคนิคการสังเกตและตัดแต่งต้น
จากขั้นตอนการเพาะชำนั้น จะเหลือต้นมะละกอ 3 ต้นต่อถุง หรือ ต่อหลุมปลูก  เราสามารถเริ่มตัดต้นทิ้งให้เหลือแต่ต้นสมบูรณ์เพศ(กะเทย) ได้โดยให้สังเกตเมื่อมะละกอเริ่มออกดอก ตัดเหลือต้นสมบูรณ์เพศ(กะเทย)ไว้เพียงต้นเดียวจะทำให้ได้ผลผลิตที่ดี และได้ราคา
การป้องกันศัตรูมะละกอ
เพลี้ยไฟ  เพลี้ยไฟเป็นแมลงขนาดเล็กมาก มี 6 ขา มีลำตัวแคบยาว สีเหลืองซีด เมื่อโตเต็มที่มีปีกยาวบนหลังจึงบินได้และปลิวไปตามลม มักพบระบาดในช่วงปลายฤดูฝนถึงต้นฤดูแลง อาการที่พบใต้ผิวใบจะแห้งเหี่ยว โดยเฉพาะเส้นกลางใบหรือขอบใบแห้งเป็นสีน้ำตาลถาเปนกับผลทำใหผลกรานเปนสีน้ำตาล ในฤดูฝนจะไม่ค่อยพบ และหากใช้ไบโอเฟอร์ทิลตามคำแนะนำก็จะพบได้น้อย  ถ้าพบอาจใช้น้ำฉีดพ่นแรง ๆ ให้หล่นไป หรือหากมีการระบาดมากในช่วงที่อากาศแล้งจัดใช้ ชีวภัณฑ์ กำจัดแมลง เมทา-แม็ก ฉีดพ่น 2-3 ครั้งทุก 5-7 วัน
ไรแดง  เป็นสัตว์ขนาดเล็กมี 8 ขา จะทำให้ผิวใบจะไม่เขียวปกติเกิดเป็นฝ้าด่าง ถ้าดูใกล้ ๆ จะพบตัวไรสีคล้ำ ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก เดินกระจายไม่ว่องไว หรืออาจเห็นคราบไรสีขาวกระจายอยู่ทั่วไป แมลงศัตรูธรรมชาติ คือ ด้วงเต่าเล็ก ตัวดำลำตัวรี  ตัวุอ่อนด้วงเต่าก็กินไรได้ดี  หากใช้ไบโอเฟอร์ทิลตามคำแนะนำ จะป้องกันการระบาดของไรได้ดี หากช่วงใดมีอากาศร้อน อบอ้าว จะพบว่ามีไรระบาดมากให้ใช้ชีวภัณฑ์ กำจัดแมลง เมทา-แม็ก ฉีดพ่น 2-3 ครั้งทุก 5-7 วัน ในอัตรา 100 กรัมผสมน้ำ 20 ลิตร เพื่อตัดวงจรของการระบาด

แมลงวันทอง  แมลงวันทองเป็นแมลงที่ทำลายผลไม้หลายชนิด โดยจะวางไข่ที่ผลขณะแก ทำให้หนอนที่ฟักเป็นตัว ทำลายเนื้อของผลเสียหาย เมื่ออยู่บนต้นหรือในขณะบ่มผล  แมลงวันทองจะระบาดในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่ดินชื้นตัวเต็มวัยจะขึ้นจากดินมาผสมพันธุ์กัน ช่วงที่ทำความเสียหายให้กับเกษตรกรมากที่สุดคือ ระยะที่เป็นตัวหนอน การป้องกัน  คือ เก็บผลมีสีเหลืองที่ผิว 5% ของพื้นที่ผิวผล ไม่ปล่อยให้สุกคาต้น  ควรป้องกันก่อนเข้าทำลายโดยใช้ไบโอเฟอร์ทิล เป็นประจำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด จะช่วยขับไล่ป้องกันการเข้าทำลายได้ดี และหากมีการระบาดเป็นประจำทุก ๆ ปีให้ใช้เหยื่อโปรตีนผสม เมทา-แม็ก  คลุกเหยื่อล่อ วางไว้เป็นจุด ๆ รอบบริเวณที่มีการระบาด เพื่อล่อให้แมลงมาตอม และสัมผัส เมทา-แม็ก แมลงที่มาสัมผัส จะติดโรค หยุดการเข้าทำลายผลผลิต เคลื่อนที่ช้าลงและตายภายใน 2-3 วัน  และให้ป้องกันผลด้วยการห่อกระดาษหนังสือพิมพ์ หรือเก็บผลที่เน่าเสีย เนื่องจากแมลงและโรคออกจากแปลงปลูกฝังดินลึก ๆ หรือเผาไฟ 
แมลงวันผลไม้(แมลงวันทอง)ตายโดย เชื้อ "เมทา-แม็ก"
เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยอ่อน เป็นแมลงดูดที่สำคัญชนิดหนึ่งในมะละกอ สันนิษฐานกันว่าเป็นตัวถ่ายทอดโรคใบด่างเหลืองที่เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งโรคนี้พบวากำลังเปนกับมะละกอในแหลงผลิตทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางควรป้องกันก่อนเข้าทำลายโดยใช้ไบโอเฟอร์ทิล เป็นประจำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด  และหากมีการระบาดมากให้ใช้ยากำจัด จำพวก ปิโตรเลียมสเปรย์ออล์ย ผสมกับ ชีวภัณฑ์ กำจัดแมลง เมทา-แม็ก  ฉีดพ่น
โรคใบด่างของมะละกอ(ใบจุดวงแหวน)  อาการที่เกิดกับต้นกล้ามะละกอจะแสดงอาการใบด่างผิดปกติ ใบมีขนาดเล็กลง สีซีดต่อมาใบร่วงและทำให้ต้นตาย  สำหรับต้นที่โตแล้ว จะแสดงอาการโดยใบยอดเหลืองซีด ใบมีขนาดเล็กลง ก้านใบสั้น ใบด่างสีเหลืองสลับเขียว ส่วนต้น หรือ ก้านใบจะพบจุดหรือขีดสีเขม มะละกอจะให้ผลผลิตน้อยหรือไม่ได้ผลเลย  สาเหตุเกิดจากเชื้อ ปาปายาริงสปอทไวรัส  ซึ่งเชื้อนี้บางครั้งมีการแฝงอยู่ในมะละกอตั้งแต่เริ่มเพาะปลูก และจะแสดงอาการรุนแรงเมื่อต้นมะละกออ่อนแอ
การป้องกัน
1. เลือกเมล็ดพันธุ์ที่นำมาปลูกจากแหล่งที่ไว้ใจได้ ไม่มีเชื้อปนเปื้อน
2. บำรุงต้นด้วย ไบโอเฟอร์ทิล และปุ๋ยตามคำแนะนำ จะทำให้ต้นแข็งแรง สามารถแบกผลผลิตได้มาก และมีความต้านทานโรคได้ดีขึ้น
3. ถ้าพบวาเปนโรคตองโคนทิ้งและไมนำมีดที่มีเชื้อไปตัดตนดีเพราะจะทำใหเชื้อแพรกระจายไปไดและ ฉีดพ่นยาป้องกันเพลี้ยอ่อนหรือเพลี้ยอื่นๆ บางชนิด เช่น เพลี้ยไก่ฟ้า ไม่ให้มาดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นมะละกอที่ปกติ นอกจากนี้อาจใช้พันธุ์ต้านทานปลูกก็ได้
โรคราแป้ง  อาการปรากฏบนใบและบนผลที่มีสีเขียว เกิดคราบฝุ่นของเชื้อราเป็นขุยสีขาว ๆ คล้ายแป้งที่บนใบ ก้านใบ และผล ใบอ่อนที่ถูกทำลายจะร่วงหรือใบเสียรูป ยอดชะงักการเจริญเติบโต ผลอ่อนมากๆ ถ้าเป็นโรคผลจะร่วง แต่ถ้าเป็นกับผลโตผลจะไม่ร่วงยังเจริญเติบโตได้ แต่ผิวจะกร้าน และขรุขระไม่น่าดู ส่วนที่ก้านนั้นมีสีเทาจาง ๆ แผลจะมีขอบเขตไม่แน่นอน 
สาเหตุของโรค  โรคนี้มีสาเหตุเกิดจากเชื้อรา Oidium sp. โดยเชื้อราจะสร้างสปอร์ปลิวไปตามลมแพร่ระบาดไปได้ไกล ๆ โรคนี้มักจะเกิดในปลายฤดูฝนหรือต้นฤดูหนาว
การป้องกันกำจัดควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรครา เช่น เมธาแล็กซิลหรือเบโนมีล หรือไดโนแคพ
โรคโคนเน่า  อาการของโรคพบทั้งที่ราก และโคนลำต้นอาการเน่าที่โคนต้นจะเน่าบริเวณระดับดิน แผลจะลุกลามมากขึ้นและจะปรากฏอาการที่ใบทำให้ใบเหี่ยวและเหลืองยืนต้นตายหรือล้มได้ง่ายที่สุดเพราะเมื่อโคนลำต้นเน่าก็หมายถึงภายในเนื้อเยื่อจะเน่าเละหมด ไม่มีส่วนแข็งแรงที่จะทรงตัวอยู่ได้
สาเหตุของโรค โรคโคนเน่าเกิดจากเชื้อ Phytophthora plamivora พบเป็นมากในฤดูฝนเชื้อราเป็นพวกเชื้อราในดิน เมื่อมะละกอเจริญเติบโตเชื้อรานี้จะแพร่ระบาดได้รวดเร็วเมื่อมีความชื้นสูงโดยสปอร์จะไหลไปกับน้ำเข้าทำลายต้นอื่น
1. การป้องกันและกำจัดถ้าหากมีน้ำท่วมขังชื้นแฉะจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคนี้ได้ง่ายการจัดระบบปลูกให้มีการระบายน้ำที่ดีจึงเป็นสิ่งจำเป็น ฉะนั้น เมื่อปรากฏอาการของโรคควรถอน ขุดทำลาย ถ้าตรวจพบว่าโรคนี้เริ่มเข้าทำลายก็ควรรดด้วยเมื่อเริ่มพบการระบาด ให้รีบใช้ ไตรโคแม็ก ผสมน้ำราดบริเวณโคนต้นตามอัตราที่ระบุ ฉีดพ่นทางใบทันที 2 ครั้ง ห่างกัน 4-7 วัน
โรคแอนแทรคโนส อาการที่ผลอ่อนจะเกิดจุดและเน่าเสียหาย ส่วนที่ผลแก่จะเกิดจุดแผลสีน้ำตาลลุกลามเป็นวงกลม เมื่อผลใกล้สุกมีความหวานมากขึ้นและเนื้อเริ่มนิ่มอาการของโรคจะยิ่งลุกลามรวดเร็วและเป็นรุนแรง ลักษณะอาการที่เห็นได้ชัดคือแผลกลมนุ่ม และเป็นวงซ้อน ๆ  กัน เป็นได้ทั้งบนต้นและในระหว่างบ่มตลอดจนในช่วงวางขายในตลาด
สาเหตุของโรค เกิดจาก เชื้อรา Colletotrichum gloeosporieides (Glomerella cingulata) เชื้อราชนิดนี้ ทำลายทั้งใบอ่อนและผลความสำคัญและพบระบาดเสมออยูที่ผลสปอรของเชื้อราดังกลาวจะแพรระบาดไปยังผลมะละกอในต้นเดียวกันและตนอื่นๆตลอดจนในภาชนะบรรจุผลมะละกอได้โดยง่าย โดยอาศัยอาการสัมผัสติดไปหรือลมเป็นพาหนะนำเชื้อโรคไป
การป้องกันและกำจัด 
1. เมื่อใช้ไบโอเฟอร์ทิลตามคำแนะนำเป็นประจำเปอร์เซ็นต์การเข้าทำลายจะน้อยมากจากข้อมูลที่เกษตรกรได้ใช้ พบว่าปัญหาของโรคลดลงไปมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของผลผลิต ช่วยประหยัดต้นทุนสารเคมี
2. เมื่อเริ่มพบการระบาดให้รีบใช้ไตรโคแม็ก ผสมน้ำตามอัตราที่ระบุ ฉีดพ่นทางใบทันที 2 ครั้ง ห่างกัน 4-7 วัน
3. แต่หากมีโรคระบาดในแปลงปลูกขั้นรุนแรงก็พ่นด้วยสารเคมี เช่น เบโนมีล 10 กรัมตอน้ำ  20 ลิตร แมนโคเซป หรือ แคปแทน
ข้อเปรียบเทียบหลังจากเกษตรกรใช้ผลิตภัณฑ์ ฯลฯ ตามคำแนะนำเป็นประจำ            
1. มะละกอติดดอกง่าย ขั้วดอก,ผล เหนียว ต้นไม่โทรมแม้แบกผลผลิตมาก
2. แมลงศัตรูพืชที่เข้ามารบกวนลดลงอย่างเห็นได้ชัดโดยเฉพาะจำพวกผีเสื้อกลางคืนซึ่งเป็นตัวแม่ของหนอนชนิดต่างๆรวมถึงแมลงวันทองและด้วงกัดกินใบทำให้ประหยัดต้นทุนยากำจัดศัตรูพืชและลดความเสียหายได้ดีกว่า (ในพื้นที่ที่มีการระบาดมากหากใช้ไบโอเฟอร์ทิลฉีดร่วมกับยากำจัดศัตรูพืช ก็จะทำให้สามารถคุมและป้องกันการเข้าทำลายได้นานขึ้น)
3. อายุการให้ผลผลิตของต้นจะมากกว่าแปลงที่ไม่ได้ใช้อย่างเห็นได้ชัด
4. เนื้อแน่นสามารถลดการต้นทุนจากการใช้ปุ๋ยเคมีจากเดิมลงได้ประมาณ 20-50%
5. สุขภาพผู้ปลูกดีขึ้นเนื่องจากสัมผัสหรือจับต้องสารเคมีน้อยลง
6. โรคเชื้อราที่เข้าทำลายต้นลดลง
7. หลังจากใช้เป็นประจำการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียว”  ร่วมด้วยเป็นประจำ  จะทำให้ต้นทุนปุ๋ยและสารทางดินต่อชุดการผลิต ลดลงได้ประมาณ 30-50 % โดยที่ผลผลิตที่ได้ยังเป็นปกติหรือดีกว่าเดิม และสังเกตได้ว่าสารอินทรีย์ในเนื้อปุ๋ยทำให้สภาพดินดีขึ้นดินโปร่งอุ้มน้ำได้ดีและพืชตอบสนองต่อการให้ปุ๋ยทางดินดีกว่าเดิม ในระยะยาวปัญหาเรื่องโรคทางดินน้อยกว่าแปลงข้างเคียงที่ไม่ได้ใช้ ผลในทางอ้อม  เนื่องจากยักษ์เขียวเป็นสารอินทรีย์แท้จึงกระตุ้นจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ให้ย่อยปุ๋ย(เคมี)ที่ตกค้างในดินทำให้รากพืชสามารถดูดซึมกลับไปใช้ได้ธาตุอาหารในดินจะสมดุลมากกว่า

การปลูกชะอม


ในการปลูกชะอมจะให้ได้ผลผลิตดีต้องมีการจัดการน้ำให้ดี เพราะถ้าชะอมได้น้ำดี ชะอมจะแตกยอดอ่อนอยู่เสมอ โดยเฉพาะในหน้าฝนจะพบว่าชะออมแตกยอดได้ดีมาก

แต่ขณะที่ชะอมกำลังแตกยอดอ่อนก็ควรมีการเสริมปุ๋ยให้แก่ชะอมด้วยเช่นกัน และควรให้ปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอด้วย โดยเฉพาะปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก และควรให้ประมาณ 15 วันครั้ง ส่วนการให้น้ำควรให้ตามสภาพอากาศ หน้าฝน อาจไม่จำเป็นต้องให้น้ำเลยยกเว้นฝนทิ้งช่วงหลายวัน ส่วนหน้าร้อน ต้องให้น้ำทุกวันมิเช่นนั้นชะอมจะให้ยอดน้อย ยอดน้อยที่สุดจะเป็นหน้าหนาว แต่เรามีวิธีบังคับให้ชะอมแตกยอดในหน้าหนาวได้ด้วยการตัดแต่งกิ่ง หรือว่ารูดใบออกให้มาก จากนั้นจึงอัดปุ๋ยและน้ำยอดก็จะแตกออกมามากแต่ไม่เท่ากับการแตกยอดในฤดูฝน 




วิธีการปลูกและการดูแล 

ชะอมเป็นพืชพื้นบ้านที่ปลูกง่ายปกติปลูกตรงไหนก็ขึ้นงามดีอยู่แล้วเป็นผักสวนครัวรั้วกินได้ แต่ในการปลูกควรระวังเรื่องน้ำท่วมโคนต้นในฤดูฝน การปลูกในที่ราบลุ่มจำเป็นต้อยกร่องขึ้นมาโดยไม่มีการกำหนกระยะห่างระหว่างร่อง ขอให้สามารถเดินทำงานเดินเก็บยอดได้ก็พอ ส่วนระหว่างต้นปลูกห่างประมาณ 1 ศอกต่อต้นซึ่งก็ต้องเข้าใจด้วยว่า ไม่ได้มีมาตรฐานบังคับแต่อย่างใดใครอยากปลูกห่างแค่ไหนก็คงทำได้ แต่การปลูกชิดจะทำให้ไม่เปลืองเนื้อที่และหลายๆคนบอกว่า จะทำให้การแตกยอดดีท พื้นที่ประมาณ 1 ไร่ หากปลูกตามที่กล่าวแล้วข้างต้นจะได้จำนวนต้นประมาณ 2,000 ต้น/ไร่ นอกจากค่าต้นพันธุ์แล้วในการปลูกชะอมต้นทุนก็ไม่มีอะไรมาก เท่านั้นแหละ เพราะว่านอกนั้นก็ทำเอง อย่างยกร่องก็ค่อยๆ ทำมาคนในครอบครัวก็มาช่วย ไม่ได้จ้าง ตอนปลูกก็ปลูกอยู่ 2 -3 วันจากนั้นก็ไม่ได้ทำอะไรแล้ว คอยรดน้ำ 2 -3 วันครั้ง 




การขยายพันธุ์ 

ชะอมขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง ทำง่ายๆโดยการตัดแต่งกิ่งกลางอ่อนกลางแก่ บั่นความยาวประมาณ 1 คืบแล้วปักชำลงในถุงดำเอาพลาสติกครอบไว้ประมาณ 7 วัน ก็ติดรากจากนั้นก็เลี้ยงต่อไปประมาณ 1 -2 เดือน ก็สามารถนำไปปลูกในแปลงได้ ?ที่ทำอยู่ทุกวันนี้ ไม่ได้อยากให้มีรายได้อะไรมากมายหรอกทำแบบสบายเป็นรายได้เสริม เพราะว่าขายของอยู่ที่ร้านอยู่แล้ว เช้าๆได้เดินมาเก็บผักมาดดูต้นไม้ที่เราปลูกเอาไว้ ได้ยอดก็มีความสุข ตอนเย็นก็ได้มาเดินดูบางวันก็ให้ปุ๋ย แล้วก็ได้เก็บยอดไปกินเองด้วย 




ศัตรูของชะอม  จะมีหนอนคืบ และมดแดงไฟ คุณบังอรบอกว่าได้ใช้สมุนไพรฉีดพ่นเป็นครั้งคราว ไม่ได้ฉีดประจำ แต่ใช้การสังเกตเอาถ้าเห็นมีหนอนก็ฉีดพ่นทันที ซึ่งป้องกันได้อย่างดีคุณบังอรยังบอกเทคนิคการกำจัดมดแดงไฟแบบภูมิปัญญาชาวบ้านด้วยว่าเอาน้ำหน่อไม้ดองมาราดลงในรังรับรองว่าหายเกลี้ยงหายไปนาน




เทคนิคกระตุ้นยอดอ่อนชะอม  อีกอย่างหนึ่งที่ทำให้ชะอมแตกยอดได้ดีและได้เร็วคือจะใช้น้ำมะพร้าวอ่อน จำนวน 1 -2 ช้อนแกงผสมกับน้ำเปล่าจำนวน 20 ลิตรฉีดพ่น ในตอนเช้าหรือตอนเย็น ช่วงปากใบเปิด จะทำให้ชะอมแตกยอดดีมาก





รายได้จากการปลูกชะอม ปลูกชะอมเป็นรายได้เสริมในครัวเรือน มีรายได้สม่ำเสมอ เกือบทุกวัน จะมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 200 – 300 บาท ในช่วงที่ราคาดี รายได้ก็อาจจะเพิ่มเป็น 2 – 3 เท่าตัว
                                                                       สมุนไพรหมาก 

ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีกว่า หมากเมีย (ทั่วไป), หมากสง (ภาคใต้), แซ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), สีซะ (กะเหรี่ยง-ภาคเหนือ), มะ (ชอง-ตราด), เซียด (ชาวบน-นครราชสีมา), ปีแน (มลายู-ภาคใต้), ปิงน๊อ (จีนแต้จิ๋ว), ปิงหลาง (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของต้นหมาก

  • ต้นหมาก มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียเขตร้อน จัดเป็นไม้ยืนต้นจำพวกปาล์ม มีความสูงของต้นประมาณ 10-15 เมตร ลำต้นตั้งตรง เป็นต้นเดี่ยวไม่แตกกิ่งก้าน ลักษณะของลำต้นเป็นรูปทรงกระบอก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8-12 เซนติเมตร เปลือกลำต้นเป็นรอยขวั้นรอบๆ ขึ้นไปตลอดลำต้น ในระยะแรกจะเจริญเติบโตด้านกว้างและด้านสูง แต่หลังจากหยุดการเจริญเติบโตจะเจริญเติบโตด้านความสูง ต้นหมากมีตายอดส่วนปลายสุดของลำต้น ถ้ายอดตายหมากจะตาย ตายอดจะเป็นที่เกิดของใบหลังจากใบร่วงหล่นจะทิ้งรอยติดของใบไว้ เรียกว่าข้อ ข้อของต้นหมากสามารถคำนวณหาอายุหมากได้ 1 ปี โดยหมากจะมีใบหรือข้อเพิ่มขึ้น 5 ใบ หรือ 5 ข้อ ต้นหมากจะมีเนื้อเป็นเสี้ยนยาวจับตัวกันแน่นบริเวณเปลือกนอกลึกเข้าไปประมาณ 2 เซนติเมตร แต่ส่วนกลางของลำต้นเป็นเสี้ยนไม่อัดแน่น และมีเนื้อไม้อ่อนนุ่มคล้ายกับฟองน้ำ จึงทำให้ต้นหมากเหนียวและสามารถโยกเอนได้มาก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลสูงกว่า 700 เมตร
  • ใบหมาก ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงเวียนหนาแน่นที่ปลายยอด ก้านใบรวมยาวได้ประมาณ 130-200 เซนติเมตร ลักษณะของใบย่อยรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบเรียวแคบ ใบอ่อนมีรอยแยก ใบมีขนา.ดกว้างประมาณ 2.5-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 50-70 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบหนา กาบใบหุ้มลำต้น
  • ดอกหมาก (จั่นหมาก) โดยจะออกตามซอกโคนก้านใบหรือกาบนอก ดอกออกรวมกันเป็นช่อขนาดใหญ่ประกอบไปด้วยโคนจั่นยึดติดอยู่ที่ข้อของลำต้น ก้านช่อดอกเป็นเส้นยาวแตกออกโดยรอบแกนกลาง มีกลีบหุ้มช่อขนาดใหญ่ยาวประมาณ 40 เซนติเมตร เป็นมันเงา มีใบประดับหุ้มอยู่ ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน กลีบดอกเป็นสีขาวแกมสีเหลืองมี 6 กลีบ เรียงเป็นชั้น 2 ชั้น สีเขียว ยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้ 6 อัน มีเกสรเพศเมียเป็นเส้น 3 เส้นบางๆ แผ่ออก ดอกเพศผู้จะมีขนาดเล็กและอยู่ตรงส่วนปลายของก้านช่อดอก ส่วนดอกเพศเมียจะค่อนข้างใหญ่และอยู่ที่โคนก้านช่อดอก ดอกเพศผู้จะใช้เวลาประมาณ 21 วัน หลังจากนั้น 5 วัน ดอกเพศเมียจะเริ่มบาน
  • ผลหมาก ผลออกเป็นทะลาย ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม รูปกลมรี รูปไข่ รูปไข่ปลายแหลม หรือเป็นรูปกระสวยขนาดเล็ก โดยเฉลี่ยแล้วผลที่รวกมันเป็นทะลาย ในหนึ่งทะลายจะมีผลอยู่ประมาณ 10-150 ผล ผิวผลเรียบ มีกลีบเลี้ยงติดเป็นขั้วผล ผลมีขนาดกว้างประมาณ 5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7 เซนติเมตร ผลดิบหรือผลสดเปลือกผลจะเป็นสีเขียวเข้ม เรียกว่า “หมากดิบ” ผลเมื่อแก่เปลือกผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้มทั้งผลหรือสีแดงแกมส้ม เรียกว่า “หมากสุก” หรือ “หมากสง” ผลประกอบไปด้วย 4 ส่วน คือ เปลือกชั้นนอก (ส่วนของเปลือกที่เป็นเยื่อบางๆ สีเขียว เนื้อเปลือกมีเส้นใยละเอียดเหนียว), เปลือกชั้นกลาง (เป็นเส้นใยหนามากมองเห็นชัด), เปลือกชั้นใน (เป็นเยื่อบางๆ ละเอียดติดอยู่กับเนื้อหมาก), และส่วนของเมล็ดหรือเนื้อหมาก เมื่ออ่อนจะนิ่ม เนื้อส่วนผิวจะมีลายเส้นสีเหลืองถึงสีน้ำตาล ส่วนเนื้อจะเป็นสีเหลืองอ่อนๆ ถึงสีเหลืองเข้มอมแดง ภายในผลมีเมล็ดเดียว มักออกผลในช่วงเดือนพฤษภาคม

สรรพคุณของหมาก

  1. ผลอ่อนมีรสฝาดหวาน สรรพคุณเป็นยาช่วยทำให้เจริญอาหาร (ผล)
  2. เปลือกผลมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ (เปลือกผล)
  3. รากมีรสฝาดเย็น มีสรรพคุณเป็นยาแก้โรคกษัย (ราก)
  4. ผลใช้เป็นยาแก้โรเบาหวาน ด้วยการใช้หมากที่กินกับพลูแบบสด 1 ลูก นำมาผ่าเป็น 4 ซีก ต้มกับน้ำ 1 ลิตร จนเดือดหรือประมาณ 10 นาที ใช้ดื่มก่อนอาหารครั้งละครึ่งแก้วเช้า กลางวัน และเย็น เมื่อนำตาลในเลือดลดลงก็ให้นำมาต้มดื่มแบบวันเว้นวันได้ ซึ่งหมากจะมีฝาด จึงช่วยสมานแผลของผู้เป็นโรคเบาหวานให้หายเร็วขึ้นได้อีกด้วย (ผล)
  5. ใบมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ แก้หวัด (ใบ)
  6. รากหมากใช้ผสมกับรากมะพร้าว รากมะกอก รากมะปรางเปรี้ยว รากมะปรางหวาน ลูกกระจับน้ำ ลูกบัวหลวง เกสรบัวหลวง และหัวแห้ว ใช้กินเป็นยาแก้พิษผิดสำแดงไข้ (ราก)
  7. รากนำมาต้มกับน้ำเป็นยาแก้พิษร้อนภายใน แก้พิษไข้ร้อน (ราก)หรือจะใช้ใบนำมาต้มกับน้ำกินและอาบเป็นยาแก้ไข้ แก้หวัดก็ได้ (ใบ)
  8. หมากมีสรรพคุณในการรักษาโรคมาลาเรีย (ผล)
  9. ช่วยขับเหงื่อ (เมล็ด)
  10. ดอกเพศผู้ เป็นยาหอม ช่วยแก้กระหายน้ำ (ดอกเพศผู้)
  11. ผลมีสรรพคุณช่วยแก้อาการไอ (ผล)
  12. ช่วยขับเสมหะ (เนื้อผล)
  13. หมากแก่ หรือ หมากสง มีรสฝาดจัด มีสรรพคุณเป็นยาแก้เสมหะในลำไส้เป็นพิษ ช่วยปิดธาตุ และสมานแผล (หมากแก่)
  14. ช่วยแก้เมา แก้อาเจียน (ผล)
  15. ผลหมากสุกเมื่อนำมาต้มกับน้ำกินแล้วจะช่วยป้องกันอาการของโรคต้อหินหรือความดันภายในลูกตา เพื่อไม่ให้สูงจนผิดปกติได้ (ผล)
  16. ตำรายาไทยจะใช้เมล็ดเป็นยารักษาโรคในปาก ช่วยแก้ปากเปื่อย (เมล็ด)ส่วนอีกข้อมูลระบุให้ใช้รากสนำมาต้มกับน้ำเดือดใช้อมในขณะยังอุ่นแก้ปากเปื่อย (ราก)
  17. รากนำมาต้มเอาน้ำอมช่วยถอนพิษถูกสารปรอทตามฟันได้ดีมาก (ราก)
  18. ช่วยทำให้เหงือกและฟันแข็งแรง (เมล็ด)
  19. ช่วยบำรุงกระเพาะ (ดอกเพศผู้)
  20. เปลือกผลมีรสเผ็ด เป็นยาร้อนเล็กน้อย ออกฤทธิ์ต่อม้ามและกระเพาะลำไส้ ใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับน้ำในกระเพาะลำไส้ และช่วยในการย่อยอาหาร (เปลือกผล)[3]
  21. เนื้อภายในผลมีรสขมฝาดเผ็ดเล็กน้อย เป็นยาร้อนเล็กน้อยออกฤทธิ์ต่อม้าม กระเพาะ และลำไส้ใหญ่ มีสรรพคุณช่วยขับน้ำชื้น ขับสิ่งคั่งค้าง แก้พุงโรแน่นท้อง ขับลมในกระเพาะลำไส้ (เนื้อผล)
  22. ตำรับยาแก้กระเพาะอาหารไม่ย่อย แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ด้วยการใช้เนื้อของผลหมาก, เปลือกส้มเขียว, ถิ่งพ้วย อย่างละ 12 กรัม อึ่งแปะ, ดินประสิว, โกฐน้ำเต้า, หัวแห้วหมู และซำเล้ง อย่างละ 6-7 กรัม นำมาต้มกับน้ำหรือนำมาบดเป็นผงปั้นเป็นยาลูกกลอนกิน (เนื้อผล)
  23. รากมีสรรพคุณเป็นยาสมานลำไส้ (ราก)
  24. ช่วยแก้อาการท้องเดิน (ไม่ใช่บิดหรืออหิวาตกโรค) (ราก)เมล็ดมีสรรพคุณช่วยรักษาท้องเดิน ท้องเสีย (เมล็ด)
  25. ช่วยแก้โรคบิด (ราก)
  26. ช่วยแก้บิดปวดเบ่ง ปวดแน่นท้อง (เมล็ด)
  27. ช่วยแก้บิดทวารหนัก (เนื้อผล)
  28. ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ ยาขับพยาธิได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น พยาธิตัวกลม พยาธิตัวตืด พยาธิใบไม้ ด้วยการใช้เนื้อในผลหมาก นำมาบดให้เป็นผง โดยใช้ประมาณ 50-60 กรัม นำมาต้มกับน้ำกินในขณะท้องว่าง (เนื้อผล)
  29. ช่วยขับพยาธิในถุงน้ำดี ด้วยการใช้เนื้อในผลและเล็บมือนาง อย่างละ 35 กรัม, โกฐน้ำเต้า 6 กรัม, พริกหอม 3 กรัม, บ๊วยดำ 10 กรัม นำมาต้มกับน้ำกินในขณะท้องว่าง (เนื้อผล)
  30. ยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้เมล็ดหมากผสมกับกาฝากต้นโพ เห็ดกระด้าง และรากมะเขือแจ้ดอกคำ นำมาฝนกับน้ำกินเป็นยารักษาโรคทางเดินปัสสาวะ (เมล็ด)
  31. เมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ (เมล็ด) ส่วนอีกข้อมูลระบุว่ารากก็มีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะเช่นกัน (ราก)
  32. เปลือกผลมีสรรพคุณช่วยลดอาการบวมน้ำตอนช่วงล่างของเอว (เปลือกผล)ส่วนเนื้อผลมีสรรพคุณช่วยลดอาการขาบวมน้ำ (เนื้อผล)
  33. ช่วยป้องกันสารพิษทำลายตับ (ใบ)ช่วยล้อมตับดับพิษ ช่วยขับพิษภายในและภายนอก (ใบ)
  34. ผลมีสรรพคุณเป็นยาสมานแผล (ผล) เมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาสมานทั้งภายนอกและภายใน ช่วยสมานแผลทำให้เลือดหยุดไหล และแผลหายเร็ว ด้วยการใช้เมล็ดหรือเนื้อหมากนำมาปิดบริเวณบาดแผล (เมล็ด)
  35. รากมีสรรพคุณช่วยถอนพิษบาดแผล (ราก)
  36. เมล็ดใช้เป็นยายับยั้งการไหลของหนองเวลาเป็นแผล (เมล็ด)
  37. เมล็ดใช้ฝนทารักษาแผลเน่าเปื่อย แผลเป็น ช่วยฆ่าพยาธิบาดแผล ขจัดรอยแผลเป็น (เมล็ด)
  38. เมล็ดใช้ภายนอกเป็นยาทาแก้คัน (เมล็ด) บางข้อมูลระบุว่าใบนำมาต้มกับน้ำอาบจะช่วยแก้เม็ดผดผื่นคันตามตัวได้ (ใบ)
  39. ช่วยแก้เกลื้อน (ราก)
  40. ใช้รักษาหูด ด้วยการใช้ผลดิบ 1 ผล (ผลหมากที่สุกแก่แต่ยับดิบอยู่) นำมาฝานเอาเนื้อในออกมาเป็นชิ้นๆ เหมือนการเตรียมหมากเพื่อกิน หลังจากนั้นนำไปย่างไฟให้ร้อน แล้วรีบนำมาพอกทับปิดที่หัวหูดทันที จะช่วยทำให้หัวหูดหลุดลอกออกมาได้ (ผล)
  41. ช่วยรักษาโรคน้ำกัดเท้า ด้วยการนำผลหมากมาผ่าเป็น 4 ซัก แล้วใช้ทั้งเปลือกและเนื้อในถูทาบริเวณที่ถูกน้ำกัดเท้าจนเกิดแผลบ่อยๆ ทุกวัน อาการจะค่อยๆ ดีขึ้นและหายไปในที่สุด(ผล,เมล็ด)
  42. รากนำมาแช่กับเหล้ากินเป็นยาแก้ปวดเมื่อยเส้นเอ็นได้ดีมาก (ราก)


หมายเหตุ : วิธีการใช้ตาม  ถ้าเป็นเนื้อในผล ยาแห้ง ให้ใช้ครั้งละ 5-10 กรัม ส่วนเปลือกผล ยาแห้ง ให้ใช้ครั้งละ 6-20 กรัม ถ้าใช้เป็นยาขับถ่ายพยาธิ ให้ใช้เนื้อผลได้ถึง 50-80 กรัม นำมาต้มกับน้ำกินตอนท้องว่างหรือบดเป็นผงกิน[3]
                                                                  การปลูกถั่วฝักยาว


มีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้
ก่อนอื่นเราต้องทำความรู้จักและรู้จักถั่วฟักยาวกันก่อน 
ถั่วฝักยาวเป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินแทบทุกชนิด แต่ลักษณะดินที่มีความเหมาะสมในการปลูก คือดินร่วนทราย หรือดินร่วนปนทราย
ไถพรวนความลึกประมาณ 6-8 นิ้ว ตากดินทิ้งไว้ 7 วัน เพื่อทำลายไข่แมลง และศัตรูพืชบางชนิดในดิน

      การเตรียมดิน

ถั่วฝักยาวเป็นพืชที่มีระบบรากละเอียดต่อการเตรียมดินที่ดีจะช่วยให้การเจริญเติบโตสมบูรณ์และสม่ำเสมอ ขั้นตอนแรกให้ไถพรวนความลึกประมาณ 6-8 นิ้ว ตากดินทิ้งไว้ 7 วัน เพื่อทำลายไข่แมลง และศัตรูพืชบางชนิดในดิน เก็บเศษวัชพืชออกจากแปลงให้หมด จากนั้นจึงไถคราด ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้ว เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น
การยกร่องสำหรับถั่วฝักยาวนั้น ปกติจะยกร่องกว้างประมาณ 1เมตร (ความยาวดูตามความเหมาะสมกับสภาพแปลง) และเตรียมร่องระหว่างแปลงสำหรับเข้าไปปฏิบัติงาน กว้างประมาณ 50 เซนติเมตร

   การเตรียมเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก/การปลูก

การปลูกถั่วฝักยาวในเนื้อที่ 1 ไร่ จะใช้เมล็ดพันธุ์ 3-4 กิโลกรัม
นำเมล็ดพันธุ์ไปทดสอบความงอก คัดเมล็ดที่มีตำหนิออก และควรคลุกเมล็ดด้วยไตรโคเดอร์มาเชื้อสด เพื่อป้องกันเชื้อรา และโรครากเน่าโคนเน่า ใช้จอบขุดหลุมให้ระยะระหว่างแถวห่างกัน 80 ซม. ระยะระหว่างหลุม 50 ซม. โดยให้หลุมลึกประมาณ 4 นิ้ว หยอดเมล็ดหลุมละ 3-4 เมล็ด แล้วกลบดินให้ลึกประมาณ 5 เซนติเมตร จากนั้นรดน้ำทันที

        การดูแลรักษา

- การให้น้ำระยะ 1-7 วัน ควรให้ทุกวัน ๆ ละ 1 ครั้ง แล้วแต่สภาพภูมิอากาศ และสภาพดินด้วย หลังจากหยอดเมล็ดแล้วประมาณ 5-7 วัน เมล็ดจะเริ่มงอก

- ต้นกล้าเริ่มมีใบจริงประมาณ 4 ใบ ถอนแยกต้นกล้าให้เหลือต้นแข็งแรงไว้ 2 ต้นต่อหลุม ขณะที่ถอนแยกให้พรวนดินและกำจัดวัชพืช เพื่อไม่ให้วัชพืชมาแย่งน้ำ และอาหารจากถั่วฝักยาว

-จากนั้นให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรแฉะเกินไป ระยะเจริญเติบโตหลังจากถอนแยกแล้วควรให้น้ำทุก 3-5 วันต่อครั้ง ให้ตรวจสอบความชื้นในดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโต ระบบการที่ใช้ในสวนจะเป็นระบบน้ำหยด ซึ่งมีข้อดีตรงที่ประหยัดน้ำ เนื่องจากพื้นที่สวนของคุณพัฒนาค่อนข้างจะขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง



      การทำค้าง

ถั่วฝักยาวเป็นพืชที่ต้องอาศัยค้างเพื่อเกาะพยุงลำต้นให้เจริญเติบโต ไม้ที่ใช้สำหรับทำไม้ค้างนั้นใช้ไม้ไผ่ หรือไม้อื่น ๆ ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น โดยการสร้างโครงเสาแล้วใช้ไม้ไผ่พาดด้านบน และใช้เชือกห้อยลงมายังลำต้นถั่วฝักยาวให้เลื้อยขึ้น ระยะเวลาการใส่ค้างถั่วฝักยาวนั้นจะเริ่มใส่หลังจากงอกแล้ว 15-20 วัน โดยจับต้นถั่วฝักยาวให้พันเลื้อยขึ้นค้างในลักษณะทวนเข็มนาฬิกา


        เคล็ดลับของความสำเร็จ


การบำรุงโดยการใช้น้ำหมักชีวภาพ

- เมื่อมีใบประมาณ 2 ใบ ให้ฉีดพ่นบำรุงด้วยจุลินทรีย์หน่อกล้วยให้ทั่ว

- หลังจากถั่วฝักยาวแตกใบจริง 1 อาทิตย์ ให้ฉีดบำรุงด้วยน้ำหมักปลาร้าผสมกับน้ำหมักหน่อกล้วย

- หลังจากที่ปลุกประมาณ 3 เดือน ให้ฉีดพ่นด้วยฮอร์โมนนม เพื่อเร่งดอก อัตรา 80 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร เพื่อเร่งการออกดอก ฉีดติดต่อกันจนกว่าถั่วจะออกดอก ระยะเวลาในการฉีดพ่น ประมาณ 7 วัน/ครั้ง

- เมื่อถั่วเริมออกดอก ให้ฉีดพ่นด้วยฮอร์โมนนม ผสมกับฮอร์โมนไข่ ผสมกับน้ำ อัตรา 80 ซีซี:80ซีซี:20 ลิตร ฉีดติดต่อกันจนกว่าถั่วจะติดผล ระยะเวลาในการฉีดพ่น ประมาณ 7 วัน/ครั้ง

-ช่วงถัวฝักยาวติดผลให้ฉีดบำรุงด้วยน้ำหมักหมักรวม (ฮอร์โมนนม+ฮอร์โมนไข่+น้ำหมักผลไม้+น้ำหมักปลาร้าอัตรา 40:40:40:40 ซีซี /น้ำเปล่า 20 ลิตร) ฉีดติดต่อกัน 3-4 วันครั้งจนกว่าจะเก็บผลผลิต

-ถ้าช่วงไหนพบแมลงศัตรูพืช ก็จะฉีดพ่นด้วยน้ำส้มควันไม้ เพื่อป้องกันกำจัดแมลง อัตรา 60 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร

หลังจากหยอดเมล็ดประมาณ 50-60 วัน ก็สามารถเก็บผลผลิตได้ ให้เลือกเก็บฝักขนาดพอดี ไม่อ่อนเกินไป

ถั่วฝักยาวปลอดสารพิษ ฝักจะอวบ น่ารับประทาน อีดทั้งปลอดภัย ไม่มีพิษภัยต่อรางการแน่นอน
ซึ่งในการปลูกแต่ละรอบสามารถเก็บผลผลิตได้ประมาณ 1 เดือน




   การเก็บผลผลิต

 ควรเก็บช่วงเช้าหรือช่วงเย็น เก็บเสร็จถ้าให้ถั่วโดนแดด เพราะจะทำให้ฝักเหี่ยวหรือฝ่อเร็ว ดีต่อการเก็บให้ทยอยเก็บ 2-3 วัน/ครั้ง ซึ่งสามารถเก็บติดต่อกันได้ประมาณ เดือนครึ่ง ปีหนึ่งคุณพัฒนาสามารถปลูกถั่วได้ประมาณ 6 ครั้ง ครั้งละ 2 งาน ขายตลาดในชุมชน และตามตลาดนัด ผลผลิตที่ได้ประมาณ 1.6 ตัน/ครั้ง
                  การปลูกถั่วลิสงในนาข้าว

ขั้นตอนแรก การเตรียมดิน หลังจากที่เราทำนาเสร็จแล้ว ก็ทำการตัดตอซังข้างออกให้หมดถ้ามีนะ ถ้าไม่มีก็ทำการไถพวนดิน 3-4 รอบ โดยแต่ละรอบให้ทำการคราดพรวนดินทันที ทิ้งไว้ 5-7 วันในแต่ละรอบ 

ขั้นตอนที่ 2 การเตรียมเมล็ดพันธุ์ ทำการแกะถั่วลิสงออกจากเปลือกเพื่อเลือกเมล็ดที่สมบูรณ์(เหมาะแก่การเป็นเมล็ดพันธุ์)  และทำให้งอกได้เร็วกว่าการปลูกทั้งฝัก และช่วยให้ลดเวลาในการเก็บเกี่ยวได้เยอะเลยทีเดียวครับ

ขั้นตอนที่ 3 การปลูกเมล็ดพันธุ์ลงในดิน ขุดหลุมลึกประมาณ 15 เซ็นติเมตร หลอดเมล็ดพันธุ์ลงในดิน 3-5 เมล็ดแล้วกลบ จากนั้น นำซังข้าวมาคลุมผิวดินไว้ 15 วัน

ขั้นตอนที่ 4 วัชพืช และแมล็งศัตรูพืช ในความเป็นจริงแล้ว ในการปลูกถัวลิสงในช่วงหน้าแล้ง หลังการทำนา แทบจะไม่มีวัชพืช หรือเสี้ยนดิน เลยก็ได้ เพราะพื้นดินเพิ่งผ่านการถูกน้ำขังมานั้นเอง แต่ถ้าหากว่าจะมีบ้างก็แนะนำให้ถอนทิ้งก็เพียงพอแล้วครับ

ขั้นตอนที่ 5 การเก็บเกี่ยวผลิตผล เมื่อครบ 60 วัน(โดยประมาณ ควรตรวจสอบจากการสุ่มถอนซะก่อน) ถอนต้นถัวออกจากพื้นดินด้วยมือ แล้วเก็บผักตากแดด เพื่อการส่งขายต่อไปครับ
                                                                  การปลูดแตงกวา

แตงกวามีจำนวนโครโมโซม 2n = 14 เป็นพืชผสมข้ามตามธรรมชาติโดยอาศัยลมและแมลง แต่พบอัตราการผสมตัวเอง 1-47 เปอร์เซ็นต์ โดยธรรมชาติมีดอกเพศผู้และดอกเพศเมียแยกดอกแต่อยู่ภายในต้นเดียวกัน เป็นพืชฤดูเดียว เถาเลื้อยหรือขึ้นค้าง
ระบบรากเป็นระบบรากแก้ว (tap root system) รากแขนงเป็นจำนวนมาก รากสามารถแผ่ทางด้านกว้างและหยั่งลงได้ลึกถึง เมตร
ลำต้นเป็นเถาเลื้อย เป็นเหลี่ยม มีขนขึ้นปกคลุมทั่วไป มีข้อยาว 10-20 ซม. มือเกาะเกิดออก มาตามข้อ โดยส่วนปลายของมือเกาะไม่มีการแตกแขนงเป็นหลายเส้น ใบมีก้านใบยาว 5-15 ซม. ใบหยาบมีขนใบมีมุมใบ 3-5 มุม ปลายใบแหลม ใบใหญ่แบบ palmate มีเส้นใบ 5-7 เส้น ดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยวเกิดจากบริเวณมุม ใบหรือข้อมีกลีบเลี้ยงสีเขียวกลีบ กลีบดอกสีเหลือง กลีบ รังไข่มีลักษณะกลมยาว 2-5 ซม. มีปุ่มนูนของหนามและขนชัดเจน ส่วนของยอดเกสรตัวเมียมี 2-5 แฉก ส่วนดอกเพศผู้อาจเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกเหมือนดอกเพศเมีย ละอองเกสรตัวผู้ อัน และมีก้านชูเกสรสั้น ๆ ดอกเพศเมียและดอกเพศผู้บานในตอนเช้าและพร้อมรับการผสมเกสรดอกจะหุบ ตอนบ่ายภายในวันเดียวกัน
การเกิดดอกตัวเมียนั้นขึ้นอยู่กับช่วง แสงและอุณหภูมิกล่าว คือ จะเกิดดอกตัวเมียมากกว่าดอกตัวผู้ ในสภาพช่วงแสงสั้นและมีอุณหภูมิกลางคืนต่ำ ซึ่งตรงกับฤดูหนาวของเมืองไทย
            ผลของแตงกวามีลักษณะกลมยาวทรงกระบอก ความยาวผลระหว่าง 5-40 ซม. มีไส้ภายในผล และในปัจจุบันพันธุ์การค้าในต่างประเทศมีการปรับปรุงพันธุ์ที่สามารถติดผลได้ โดยไม่ได้รับการผสมเกสร (parthenocarpic type) โดยภายในผลไม่มีไส้ เนื้อกรอบ และน้ำหนักต่อผลสูงนิยมทั้งบริโภคผลสดแปรรูป สีผลมีสีขาว เขียวอ่อน เขียว และเขียวเข้มดำ สีหนามสีขาว แดง น้ำตาล และดำ
การจำแนกแตงกวา
แตงกวาสามารถจำแนกได้ตามประโยชน์การใช้สอยดังนี้
1. พันธุ์สำหรับรับประทานสด เป็นพันธุ์ที่มีเนื้อบางและไส้ใหญ่ สีเปลือกเป็นสีเขียวอ่อน ผลมีน้ำมากเป็นพันธุ์ที่มีทั้งผลเล็กและผลใหญ่ เมื่อผลยังอ่อนอยู่จะมีหนามเต็มไปหมด แต่เมื่อโตเต็มที่หนามจะหลุดออกเอง พันธุ์รับประทานสดนี้ไม่เหมาะกับการนำไปดอง
แตงกวารับประทานสดแบ่งตามขนาดของผลนั้น แบ่งได้เป็น
1.1 แตงผลยาว (long cucumber) ที่รู้จักกันในชื่อของแตงร้านซึ่งมีความยาวผลอย่างน้อย 15 ซม. และมีความกว้างผลมากกว่า 2.5 ซม. ส่วนใหญ่จะมีเนื้อหนาไส้แคบ กรณีที่เป็นพันธุ์ของไทยนั้น จะมีสีผลสีเขียวแก่ตรงส่วนใกล้ขั้วผลประมาณ 1/3 - ผ ของผลที่เหลือมีจุดประสีเขียวอ่อนหรือขาว และเส้นสีขาวเป็นแถบเล็ก ๆ ตลอดความยาวไปถึงปลายผล ส่วนพันธุ์ของต่างประเทศนั้น จะมีสีเขียวเข้มสม่ำเสมอทั้งผล
1.2 แตงผลสั้น (short cucumber) ที่รู้จักกันในชื่อของแตงกวา ซึ่งมีความยาวผล 8-12 ซม. และมีความกว้างผลมากกว่า2.5 ซม. ส่วนใหญ่จะมีเนื้อน้อยไส้กว้าง
2. พันธุ์อุตสาหกรรม เป็นพันธุ์ที่มีเนื้อหนา ไส้เล็ก บางพันธุ์ก็ไม่มีไส้เลย เปลือกสีเขียวเข้ม เมื่อนำไปดองจะคงรูปร่างได้ดี ไม่ค่อยเหี่ยวย่น แตงกวาพันธุ์นี้มักจะเป็นลูกผสม ผลมักมีรูปร่างผอมยาว ซึ่งแบ่งตามขนาดได้ดังนี้
2.1 แตงผลยาว (long cucumber) เป็นแตงชนิดที่ใช้ทำแตงดองของญี่ปุ่นและจีนซึ่งจะต้องมีความยาวผล 20-30 ซม. และมีความกว้างผล 2-3 ซม. มีเนื้อหนาไส้แคบผิวสีเขียวเข้มตลอดความยาวของผล มักใช้ดองโดยมีการใช้น้ำปรุงรสด้วยส่วนผสมของซีอิ้ว
2.2 แตงผลสั้น (short cucumber) เป็นแตงชนิดที่ใช้ทำแตงดองของสหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งมีความยาว 8-12 ซม. และมีความกว้างผล 1.0-5.1 ซม. โดยทั่วไปจะมีอัตราส่วนความยาวต่อความกว้าง (L/D ratio) มีค่าอยู่ระหว่าง 2.8-3.1 มีเนื้อหนาและแน่น ไส้แคบ ผิวสีเขียวเข้มตลอดความยาวของผล มักใช้ดองทั้งผล ผ่าตามความยาวและหั่นเป็นชิ้น ๆ ตามความกว้างของผลมักดองโดยมีการใช้น้ำปรุงรสด้วยส่วนผสมของซีอิ้ว
 การเตรียมแปลง
          การเตรียมดินควรมีการยกร่องลูกฟูกความสูงประมาณ 20-30 เซนติเมตร เพื่อให้สะดวกในการระบายน้ำโดยเฉพาะฤดูฝน  และมีการคลุมฟางหน้าดิน เพื่อป้องกันผลแตงกวาสัมผัสพื้นดิน ซึ่งจะทำให้ผลมีสีเหลืองและไม่ได้ราคา
การปลูก
วิธีการปลูกแตงกวานั้น พบว่ามีการปลูกทั้งวิธีการหยอดเมล็ดโดยตรงและเพาะกล้าก่อนแล้วย้ายปลูก การหยอดเมล็ดโดยตรงนั้นอาจจะมีความสะดวกในการปลูก แต่มีข้อเสียคือสิ้นเปลืองเมล็ด หากใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมซึ่งมีราคาแพงแล้ว จะเกิดความสูญเสียเปล่าและเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต รวมทั้งวิธีการหยอดเมล็ดนี้จำเป็นที่จะต้องดูแลระยะเริ่มงอกในพื้นที่กว้าง ดังนั้นการใช้วิธีการเพาะกล้าก่อน จึงมีข้อดีหลายประการ อาทิเช่น ประหยัดเมล็ดพันธุ์ ดูแลรักษาง่าย ต้นกล้ามีความสม่ำเสมอ ประหยัดค่าแรงงานในระยะกล้า เป็นต้น
สำหรับการย้ายกล้าปลูกนั้น ให้ดำเนินการตามกระบวนการเพาะกล้าตามที่กล่าวแล้ว และเตรียมหลุมปลูกตามระยะที่กำหนด จากนั้นนำต้นกล้าย้ายปลูกลงในหลุม ตามระยะระหว่างต้นและระหว่างแถวตามที่ได้กำหนดไว้ โดยการฉีกถุงพลาสติกที่ใช้เพาะกล้าออกแล้วย้ายลงในหลุมปลูก ช่วงเวลาที่จะย้ายกล้านั้นควรย้ายช่วงประมาณเวลา 17.00 นจะทำให้ปฏิบัติงานในไร่นาได้สะดวกและต้นกล้าสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดียิ่งขึ้น
การให้น้ำ
หลังจากย้ายกล้าปลูกแล้ว ต้องให้น้ำทันที ระบบการให้น้ำนั้นอาจจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ แต่ระบบที่เหมาะสมกับแตงกวา คือการให้น้ำตามร่อง เพราะว่าจะไม่ทำให้ลำต้น และใบไม่ชื้น ลดการลุกลามของโรคพืชทางใบ โดยช่วงแรกให้ผสม ปุ๋ยและฮอร์โมนธรรมชาติ ไบโอเฟอร์ทิลฝาแดง(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) ไปกับน้ำที่ให้ในอัตรา 1 ส่วนต่อน้ำ 200 ส่วน เพื่อให้ต้นเจริญเติบโตได้ดีขึ้น และสร้างภูมิป้องกันโรคราให้ต้น ช่วงเวลาการให้น้ำในระยะแรกควรให้ 1-3วันต่อครั้ง โดยให้ในช่วงเช้าที่แดดยังไม่จัด และให้สังเกตจากผิวดินร่วมด้วย โดยไม่ให้ดินแฉะหรือแห้งจนเกินไป  เมื่อต้นแตงกวา เริ่มเจริญเติบโตแล้วจึงปรับช่วงเวลาการให้น้ำให้นานขึ้น ข้อควรคำนึงสำหรับการให้น้ำนั้น คือ ต้องกระจายในพื้นที่สม่ำเสมอตลอดแปลง และตรวจดูความชื้นในดินไม่ให้สูงเกินไปจนกลายเป็นแฉะ เพราะจะทำให้รากเน่าได้
การใส่ปุ๋ยในแตงกวานั้น อาจแบ่งเป็นระยะต่าง ๆ ดังนี้
1. ระยะเตรียมดิน หลังจากพรวนดินช่วงแรกใช้ สารปรับสภาพดิน ไดนาไมท์ ผสมน้ำ ในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 100 ส่วน ราดผิวดินแล้วตากดินทิ้งไว้ 7-10 วัน  เพื่อปรับสภาพกรดในดิน และกำจัดโรคพืชทางดินก่อนเพาะปลูก
2. ใส่  ยักษ์เขียว เกรด AAA สูตรเข้มข้น (แถบเขียว) อัตราประมาณ 20-30 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ หลุมละ ช้อนแกง
2. หลังย้ายลงปลูกหรือหว่านเมล็ดแล้วประมาณ 7 วัน ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล บาง ๆ บริเวณผิวดินรอบต้น อัตราส่วน 100 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร และ ใส่ยักษ์เขียว เกรด AAA สูตรเข้มข้น (แถบเขียว) ในอัตราประมาณ 20-30 กิโลกรัมต่อไร่
3. ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง(ฝาแดง)อัตรา 30-40 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร อาหารเสริมรวม สูตรเข้มข้นพิเศษ คีเลท อัตรา 5-10 กรัม ทุก ๆ  7-10 วัน (สังเกตเมื่อแตงกวาออกดอก ๆ จะติดดีและดก  รวมถึงสามารถยืดช่วงเวลาการใช้สารกำจัดแมลงได้ นานขึ้นกว่าเท่าตัว)
4. ระยะแตงกวาออกดอก ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 25 วัน หลังจากย้ายกล้า ใส่ยักษ์เขียว เกรด AAA สูตรเข้มข้น (แถบเขียว)  อัตรา ประมาณ 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ ในพื้นที่ดินทราย อาจเสริมด้วย ปุ๋ยเคมีสูตร 25-7-7 อัตรา 5กก.ต่อไร่ เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ให้ดิน
***หลังใส่ปุ๋ยทางดินทุกครั้งให้พรวนดินหรือกลับดินกลบปุ๋ยที่หว่านเพื่อให้ธาตุอาหารไม่สูญเสียไป และพืชสามารถดูดซึมได้เต็มที่
เทคนิคเพิ่มเติม
1.    การปลูกแตงกวา ควรปลูกพร้อมกันเที่ยวเดียวเต็มพื้นที่  เนื่องจากหากมีการปลูกลักหลั่นวัน เมื่อแตงกวาจะหมดอายุการเก็บเกี่ยวพร้อม ๆ กันทั้งแปลง
2.    ในฤดูฝน สามารถปลูกแตงกวาได้แต่ควรมีการยกร่องลูกฟูกสูงประมาณ 30 เซนติเมตร เพื่อให้ดินมีการระบายน้ำได้ดี และควรระมัดระวังการให้น้ำไม่ให้ดินแฉะจนเกินไป เพราะจะทำให้ต้นแตงกวารากเน่าได้
3.    ระมัดระวังไม่ให้ผลแตงกวาสัมผัสดิน เพราะความร้อนในช่วงกลางวันจะทำให้ผลมีสีเหลืองและเสียหายทำให้ราคาตก  อาจป้องกันโดยการคลุมพลาสติกหรือฟางรองพื้นไว้ชั้นหนึ่ง
4.    เมื่อใช้ไบโอเฟอร์ทิล แตงกวาจะติดผลดกมาก และเก็บเกี่ยวได้นาน  ดังนั้นปุ๋ยทางดิน ควรเพิ่มให้ตามสัดส่วนที่พอเหมาะ เพื่อให้ผลได้ขนาดและได้ราคา
การใส่ปุ๋ย